วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แม่น้ำแยงซี



แม่น้ำแยงซี
เส้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนแม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (จีนตัวเต็ม: 揚子江; จีนตัวย่อ: 扬子江; พินอิน: Yángzǐ jiāng; อังกฤษ: Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง (จีนตัวเต็ม: 長江; จีนตัวย่อ: 长江; พินอิน: Cháng jiāng) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร[1] ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก
โค้งแรกของแม่น้ำแยงซี ณ ซีกุ (石鼓) มณฑลยูหนานโค้ง180องศา จากใต้ สู่ เหนือชื่อแม่น้ำแยงซีเกียงที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นชื่อที่ตกทอดมาจากแม่น้ำหยางจี๋เจียง (อักษรจีนตัวเต็ม: 揚子江;อักษรจีนตัวย่อ: 扬子江; พิงอิน:Yángzǐ Jiāng) ) ซึ่งเริ่มเรียกในสมัยราชวงศ์สุย. ชื่อแม่น้ำหยางจี๋เจียงถูกเรียกตามเรือบรรทุกสินค้าในสมัยก่อนจากเมืองหยางจีจิน (อักษรจีน:扬子津, ความหมายว่า ข้ามหยางจี) ในสมัยราชวงศ์หมิง ตัวเขียนของแม่น้ำหยางจีจินบางครั้งเขียนเป็น洋子 (พินอิน: Yáng Zĭ) เนื่องจากกลุ่มแรกๆที่ได้ยินชื่อแม่น้ำหยางจีจินคือกลุ่มมิชชันนารีและพ่อค้า ชื่อแม่น้ำนี้จึงถูกเรียกแทนแม่น้ำทั้งสาย ในเวลาต่อมาชื่อของแม่น้ำหยางจี๋เจียงได้รับการพิจารณาว่าเป็นชื่อที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณคดีของประเทศจีน ชื่อใหม่ของแม่น้ำหยางจี๋เจียงคือ แม่น้ำฉางเจียง (อักษรจีนตัวเต็ม:長江;อักษรจีนตัวย่อ:长江; พินอิน: Cháng Jiāng) ซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำสายยาว (Long River) ซึ่งชาวตะวันตกก็เรียกเช่นเดียวกันนี้ในบางครั้ง
แม่น้ำแยงซีถูกเรียกต่างชื่อกันไปตามเส้นทางของลำน้ำเช่นเดียวกับแม่น้ำหลายๆสาย เช่น ต้นทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกโดยชาวทิเบตว่า ตางชู (ตัวอักษรจีน:当曲, ความหมายว่า บึงแม่น้ำหรือ หนองแม่น้ำ) ตามทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกว่า แม่น้ำถัวทัว (อักษรจีน: 沱沱河) ลาดลงมาอีกเรียกว่า แม่น้ำถงเทียน (อักษรจีน: 通天河, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า ผ่านแม่น้ำสวรรค์) นอกจากนี้แล้วแม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่า แม่น้ำจินชา (อักษรจีน: 金沙江; พินอิน: Jīnshā Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำหาดทรายทอง) จากเส้นทางน้ำไหลผ่านช่องแคบระหว่างเทือกเขาต่างๆสู่ แม่น้ำแม่กองและ แม่น้ำสาละวิน ก่อนที่จะไหลผ่านเข้าสู่ที่ราบลุ่มเสฉวน หรือ ชิชวน (อักษรจีน: 四川; พินอิน: Sì Chuān) ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจีน ชาวจีนสมัยก่อนเรียกแม่น้ำแยงซีเพียงสั้นๆว่า เจียง (อักษรจีน: ; พินอิน: Jiāng) หรือ ต้าเจียง (อักษรจีน: 大江; พินอิน: Dà Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำใหญ่) ซึ่งต่อมาชาวจีนเรียกแทนแม่น้ำว่า เจียง ชาวทิเบตเรียกแม่น้ำว่า บีร์ชู (ภาษาทิเบต: འབྲི་ཆུ་; วายลี่: 'bri chu, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำแม่วัวป่า) แม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่าเป็นแม่น้ำสายทองคำ อีกด้วย




มาดูปลาแปลกๆในแม่น้ำอเมซอนกัน - ดูคลิปทั้งหมด คลิกที่นี่

แม่น้ำไนล์

แม่น้ำไนล์
        แม่น้ำไนล์ (نَهْرُالّنِيْلِ) ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของทวีปแอฟริกา และเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก คือยาวถึง 6,700 กิโลเมตร แม่น้ำไนล์ไหลผ่านประเทศแทนซาเนีย, รอวันด้า, บุรูนดี, เคนยา, แซร์, อูกันดา, เอธิโอเปีย, ซูดาน และอียิปต์         ต้นน้ำของแม่น้ำไนล์มีสองสาย โดยไหลไปบรรจบที่เมืองคาร์ทูม (เมืองหลวงของซูดาน) ต้นน้ำแรก ไนล์สีขาว (اَلّنِيْلُ الأبْيَضُ) ไหลจากที่ราบสูงในเขตศูนย์ศูตร ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของทะเลสาบแทนกานิกา ในบุรุนดี เรียกว่า "กาญีร่า" และไหลผ่านทะสาบวิคตอเรีย, กีโยฆา, โมโบโต และทะเลสาบนูในประเทศซูดาน ต้นน้ำสายที่สองคือ ไนล์สีเงิน (اَلّنِيْلُ الأزْرَقُ) มีต้นกำเนิดมาจากทะเลสาบตาน่า ในที่ราบสูงของเอธิโอเปีย ไหลผ่านทางตอนใต้ของซูดานและไหล่เอ่อเข้าท่วมบริเวณเขตหนองน้ำต่างๆ และทะเลสาบนู, ทะเลสาบนูบะห์ (นูเบีย) และอียิปต์ส่วนบน         จากจุดนี้ไนล์สีน้ำเงินก็แยกออกเป็นลำน้ำสายต่างๆ ระหว่างเมืองคาร์ทูมและเมืองอัสวานในเขตน้ำตกธรรมชาติ และไหลต่อไประหว่างอัสวานและกรุงไคโรในลำน้ำที่แคบๆ แต่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเมืองต่างๆ ของอียิปต์ได้ตั้งอยู่ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ไหลสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของกรุงไคโร ซึ่งมีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (เดลต้า) ที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ราว 23,000 ตารางกิโลเมตร ตลอดลำน้ำไนล์นั้นมีการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำหลายแห่งด้วยกัน อาทิเช่น เขื่อนญั้ลอัลเอาลิยาอฺ , เขื่อนซินน๊าร , เขื่อนอัสวาน และเขื่อนอัซซัดดุลอาลี ซึ่งเคยติดอันดับเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม่น้ำไนล์ได้ชื่อว่ามีสัตว์น้ำจืดอุดมสมบูรณ์และเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมไอยคุปต์โบราณ

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แม่น้ำสายสำคัญของโลก

แม่น้ำสายสำคัญของโลก
แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก
 แม่น้ำไนล์ ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา มีต้นน้ำมจากทะเลสาบวิกตอเรีย ทางไต้ของประเทศ ยูกันดา และใหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในประเทศอียิปต์ ยาวประมาณ 6,695 ตร.กม.

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสอง
 แม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาไต้ มีความ ยาวประมาณ 6,570 ตร.กม. เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในอเมริกาไต้

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสาม
 แม่น้ำ Chang Jiang ในประเทศจีน มีความยาวประมาณ 6,300 ตร.กม.

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสี่
 แม่น้ำมิสซิวซิปปี้-มิสซูรี่ ในสหรัฐอเมริกา ยาวประมาณ 6,020 ตร.กม.

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับห้า
 แม่น้ำอีอบ-เออทิซ ในรัสเซีย มีความยาวประมาณ 5,600 ตร.กม.

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับหก
 แม่น้ำ ฮวงเหอ ในประเทศจีน ยาวประมาณ 5,464 กม. เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย

แม่น้ำที่ยาวเป็นดันดับเจ็ด
 แม่น้ำ Parana ในประเทศบราซิล มีความยาวประมาณ 4,416 กม. มีปากแม่น้ำกว้างมาก เรียกว่า Rio de la Plata

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับแปด
 แม่น้ำคองโกหรือแม่น้ำซาอีร์ อยู่ในทวีปแอฟริกา มีความยาวประมาณ 4,500 กม.

แม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับเก้า
 แม่น้ำโขง ในทวีปเอเซีย ยาวประมาณ 4,425 กม.

แม่น้ำอันดับสิบ
 แม่น้ำอามูร์ ในรัสเซียทางแถบทวีปเอเซีย มีความยาวประมาณ 4ล416 กม.

แม่น้ำสายสำคัญในทวีปยุโรป
 แม่น้ำไรน์ อันเป็นแม่น้ำนานาชาติ เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าของทวีปยุโรป ยาวประมาณ 1,320 กม. และแม่น้ำดานูบ มีความยาวประมาณ 2,858 กม.

แม่น้ำสายสำคัญในทวีปออสเตรเรีย
 แม่น้ำเมอร์เรย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ปะเทศออสเตรเลีย ยาวประมาณ 2,575 กม.

แม่น้ำสายสำคัญในทวีปอเมริกาไต้
 แม่น้ำปารากวัย ในประเทศบราซิล ยาวประมาณ 2,550 กม. และแม่น้ำโอริโนโค ในประเทศเวเนซุเอล่า ยาวประมาณ 2,400 กม.

แม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก
 แม่น้ำริโอ แกรนด์ ยาวประมาณ 3,050 กม.