วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

6.               ภูมิอากาศแบบชายฝั่งทะเลตะวันตก  (Marine West Coast Climate  :  Cfb )  หรือเรียกกันทั่วไปว่า ภูมิอากาศแบบหมู่เกาะอังกฤษ   ภูมิอากาศแบบนี้จะอยู่ที่ บริเวณชายฝั่งด้าน

ตะวันตกของทวีป ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 50 – 60 องศา และได้รับอิทธิพลของลมตะวันตก    ภูมิอากาศแบบนี้เป็น ภูมิอากาศเย็นสบาย ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น และฤดูหนาวอากาศเย็น  มีฝนตกสม่ำเสมอ 

พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ ที่เหมาะสำหรับทำฟาร์มโคนม       พืชพันธุ์ธรรมชาติบริเวณนี้  ในบริเวณที่มีฝนตกชุกจะเป็นไม้ผลัดใบ และทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ส่วนบริเวณที่ลึกเข้าไปในทวีป มีภูมิอากาศแห้งแล้งและบริเวณที่สูง จะเป็นป่าสน

                                                7. ภูมิอากาศแบบไทก้า (Taiga Climate  :  Dc, Dd )    ลักษณะทั่วไปเป็นป่าสน  ภูมิอากาศ หนาวที่สุดในเขตหนาวด้วยกัน  บริเวณที่หนาวที่สุดของโลกคือ เมืองเวอรโคแยง  (Verkhoyansk)  ในเขตไซบีเรีย ทางตอนเหนือของประเทศรัสเซีย   ในฤดูหนาวอุณหภูมิ -68 องศาเซียเซียส  ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยวัดได้บนพื้นโลก  นอกจากบริเวณเขตไซบีเรียของรัสเซียแล้วก็มีบริเวณทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ แต่มีภูมิอากาศไม่หนาวรุนแรงเหมือนในเขตไซบีเรียของรัสเซีย

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนี้ได้แก่ ป่าสน   ชาวรัสเซียเรียกป่าสนว่า ไทก้า (Taiga)  ซึ่งถูกนำมาใช้เรียกเป็นชื่อภูมิอากาศของเขตนี้  บริเวณป่าไทก้าเป็นป่าสนที่เขียวชอุ่มตลอดปี  การผลัดใบมีติดต่อกันตลอดเวลา  บริเวณเขตไซบีเรียคือบริเวณที่เป็นป่าสนที่ใหญ่ที่สุดของโลก   สัตว์ป่าที่สำคัญในบริเวณนี้ เป็นสัตว์ที่มีขนปุกปุย  ที่สำคัญได้แก่ มิงค์ (mink)   สุนัข์จิ้งจอก  หมีขาว   ซึ่งถูกล่านำเอาขนมาทำเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาแพง

                                                8. ภูมิอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate  :  Et )   เป็นบริเวณที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี  ฤดูร้อนมีอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส  มีน้ำค้างแข็งทุกเวลา  มีฝนตกน้อยมาก  ฝนที่ตกมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ   ได้แก่บริเวณชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์  ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ  และชายฝั่งทางตอนเหนือของประเทศรัสเซีย  มีบางบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำอุ่น (Poliyas)  เป็น บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นจากเบื้องล่างมหาสมุทรไหลวขึ้นมาบนผิวน้ำ  ทำให้น้ำบนบริเวณนั้นอุ่นขึ้นกว่าบริเวณรอบๆ  ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงปลาจำนวนมาก 
                                                                 
                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติบริเวณนี้ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ  มอส  เฟิ้รน  ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำต่างๆ    สัตว์ป่าสำคัญในบริเวณนี้ คือ กวางเรเดียร์  ซึ่งใช้เป็นสัตว์พาหนะสำคัญในการเดินทาง   แมวน้ำ  วอลรัส  และสิงโตทะเล   สำหรับบริเวณขั้วโลกใต้ คือ นกเพนกวิน

                                                9. ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง  (Icecaps  :  EF )   เป็นบริเวณพื้นทีที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี  อุณหภูมิตลอดทั้งปีต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส   จีงไม่มีพืชพันธุ์ใดๆ ขึ้นได้เลย  บริเวณที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ มีอยู่เพียงแห่งเดียว คือบริเวณ เกาะกรีนแลนด์ 

                                                10. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate  :  Bwk )   เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศทารุณที่สุด รองจากบริเวณทุ่งน้ำแข็ง  โดยเฉพาะบริเวณทะเลทรายสะฮารา  (Sahara Desert)  ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา  ภูมิอากาศระหว่างกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมาก  ในเวลากลางวันอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงถึง 58 องศาเซียเซียส  แต่ในเวลากลางคืนอากาศกลับเย็นจัด อุณหภูมิต่ำถึงจุดเยือกแข็ง   การระเหย ของไอน้ำมีมากเนื่องจากอากาศแห้งและร้อนจัดตลอดปี

                                                ทะเลทรายในเขตร้อนที่มีชื่อเสียง เช่น ทะเลทรายสะฮารา  ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา  ทะเลทรายอาหรับ    ทะเลทรายธาร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย    ทะเลทรายโซโนรัน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแม๊กซิโก    ทะเลทรายกาลาฮารีในแอฟริกาใต้    ทะเลทรายในออสเตรเรีย   ทะเลทรายอะตาคามา  บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศเปรู

                                                ทะเลทรายในเขตอบอุ่นที่สำคัญ คือ ทะเลทรายโกบี ทางตอนเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทะเลทรายตาริม ซึ่งเป็นทะเลทรายในบริเวณแอ่งที่ราบที่มีภูเขาล้อมรอบ (Basin)   ทะเลทรายซุงกาเรีย    ทะเลทรายรัสเซีย-เตอรกีสถาน    และทะเลทรายในมลรัฐเนวาดาของประเทศสหรัฐอเมริกา  พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนี้เป็นจำพวกหญ้าสั้นๆ  และจำพวกที่มีใบเล็กเป็นหนาม แหลม  เช่น กระบองเพชร   ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำซึมซับจากใต้พื้นดิน ที่เรียกว่า โอเอซิส  (Oasis)  จะมีพวกต้นไม้ที่มีใบเขียวตลอดปีขึ้นได้บ้าง เช่น ไม้จำพวกปาร์ม  เป็นต้น

                                                11.ภูมิอากาศแบบที่สูง  (Hightland Climate  :  H )    ตามปกติเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้นจากระดับน้ำทะเล  อุณหภูมิของอากาศจะลดลง 6.5 องศาเซียเซียส ทุกๆ ความสูง 1,000 ฟุตร จากระดับน้ำทะเล    ด้วยเหตุนี้บริเวณเทือกเขาสูง  หรือบริเวณที่ราบสูง  จึงมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณที่ราบเชิงเขา หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ  เมืองตากอากาศที่สำคัญในเขตร้อนที่มีชื่อเสียงคือ เมืองแคมเมอรอนไฮต์แลนด์  ในมาเลเซีย    เมืองบาเกียว ในฟิลิปปินส์  และเมืองควิโต ในเอคัวดอร์  ยิ่งบริเวณที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมาก อุณหภูมิของอากาศยิ่งลดต่ำลงมาก ดังนั้นจึงทำให้ เทือกเขาคิลิมานจาโร

 (Kilimanfaro Mts.)  ทางตอนกลางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร  และมีความสูง 19,565 ฟุตจากระดับน้ำทะเล  จึงทำให้บริเวณยอดเขากลับมีหิมะปกคุลมตลอดปี  บริเวณที่มีความสูง 3,000 – 4,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะเป็นบริเวณที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งเราเรียกระดับความสูงนี้ว่า แนวหิมะ” (Snow line)   พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนี้ จะเป็นพืชพันธุ์แบบไทรก้า หรือแบบทรุนดรา คือ พวกป่าสน มอส ตะไคร่น้ำ  เฟิ้รน  เป็นต้น

ภูมิอากาศของโลก2

ภูมิอากาศ และ พืชพันธุ์ธรรมชาติ

                                                สิ่งที่กำหนดความแตกต่างของภูมิอากาศได้ดีที่สุด คือ  พืชพันธุ์ธรรมชาติ   เพราะพืชพันธุ์เหล่านี้เป็นพืชพันธุ์ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  และจะเจริญเติบโตได้เฉพาะในพื้นทีที่มีภูมิอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิดเท่านั้น  ดังนั้นบริเวณใดที่มีพืชพันธุ์ธรรมชาติเหมือนกันย่อมแสดงว่าเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิและภูมิอากาศเหมือนกัน   เราจึงสามารถนำพืชพันธุ์ธรรมชาติมาเป็นตัวแบ่งเขตภูมิอากาศตาม ลักษณะของพืชพันธุ์ธรรมชาติได้ ดังนี้

1.               ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบบศูนย์สูตร  (Tropical Rainy Climate  :  Af )  เป็นลักษณะภูมิอากาศที่

ร้อนจัด  อุณหภูมิสูง  มีฝนตกชุกตลอดปี   ได้แก่บริเวณแถบศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5 องศาละติจูดเหนือและ 5 องศาละติจูดใต้   พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็น ป่าดงดิบ  ที่เด่นชัดได้แก่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้   ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ในทวีปแอฟริกา  บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย  เราเรียกลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ว่า ภูมิอากาศแบบป่าดงดิบ    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอนจัดเป็นบริเวณป่าดงดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลก

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติของเขตนี้เป็นป่าดงดิบเป็นป่าดงดิบ  ต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น  เขียวชอุ่มตลอดปี ไม่มีการผลัดใบ  มีต้นไม้มากมายหลายชนิด  เป็นไม้ที่มีใบกว้าง  ลำต้นสูงใหญ่  ขึ้นชิดติดกันจนกิ่งใบเบียดกันแน่น ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องลอดลงไปถึงพื้นดินด้านล่างได้  มีฝนตกชุกตลอดปี  ทำให้พันธุ์ไม้ประเภท เถาวัลย์ ขึ้นเกาะเกี่ยวตามลำต้น  พันธุ์ไม้ส่วน ใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ที่เครื่องใช้ และบ้านเรือน

                                                นอกจากมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดแล้ว บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิด  ทั้งที่เรารู้จักกันดี และมีอีกหลายชนิดที่เรายังไม่รู้จัก ที่สำคัญเช่น เสือโคร่ง  วัวกระทิง  วัวแดง  หมีควาย  แรด  กระซู่  ลิงอุลังอุตัง   กอซิล่า   และสัตว์เลื้อยคลานนานาชนิด   บริเวณป่าดงดิบเหล่านี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของ แมลงและยุงที่เป็นพาหะของโรค เช่น มาลาเรีย  ไข้เลือดออก  ไข้นอนหลับ   ต้นไม้ที่มีค่าในเขตนี้ส่วนใหญ่จะไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง  เช่น ไม้แดง  ไม้มะค่า  ไม้ตะแบก

                                                2. ภูมิอากาศแบบป่ามรสุมเมืองร้อน  (Light Tropical Rainy Forest  :  Am )   เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมากในฤดูฝน ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  บริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดของโลกคือ เมืองซิราปุจิ  ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย   และมีฤดูแล้งเด่นชัดเป็นเวลา 1 – 2 เดือน  ได้แก่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเฉพาะด้านที่รับลม (Wind ward) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้  บริเวณชายฝั่งกินีตะวันตกในทวีปแอฟริกา

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติบริเวณนี้ ป่าโปร่ง เขตร้อนชื้น  หรือเรียกว่า ป่าเบญจพรรณ  เป็นป่าโปร่งผลัดใบที่ขึ้นในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม  มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าป่า ดงดิบ  มีระยะฤดูแล้งระยะสั้นๆ  เห็นได้ชัดเจน  บริเวณที่มีพืชพันธุ์แบบนี้ชัดเจน คือ  บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ต้นไม้สำคัญในป่าชนิดนี้คือ ไม้สัก ซึ่งจัดเป็นไม้ที่มีค่ามากที่สุด เพราะมีคุณภาพสูงเหมาะสำหรับการนำมาทำสร้างบ้านเรือน และเครื่องใช้สอยต่างๆ   พืชพันธุ์ที่ขึ้นแซมในเขตมรสุมนี้ ได้แก่  ต้นไผ่     บริเวณที่แห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนน้อย ปริมาณป่าไม้จะลดลงและมีทุ่งหญ้าขึ้นแซมมากขึ้น ทำให้บ้างแห่งมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่   ไม้เศรษฐกิจสำคัญในเขตนี้ เช่น ไม้สัก  ไม้ยางพารา  ไม้มะฮกกกานี  ปาร์มน้ำมัน  ชิงโคนา  และเครื่องเทศ

                                                3.  ภูมิอากาศแบบสาวานา  (Savanna  :  Aw )   มีลักษณะคล้ายกับภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน  แต่เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้น้อย  ทำให้มีฝนตกน้อยกว่า  เป็นทุ่งหญ้าที่มีไม้พุ่มสลับกับป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ห่างๆ  ได้แก่บริเวณที่มีภูมิประเทศเป็น เงาฝน (Rain Shadow)  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บริเวณทุ่งหญ้าลาโนส  ลุ่มน้ำโอริโนโคของเวเนซุเอลา  โคลัมเบีย  และที่สูงกิอานา ในทวีปอเมริกาใต้ทางตอนเหนือ   ทุ่งหญ้าแคมโปส ในบราซิล   ทางตอนเหนือ ทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย  บริเวณประเทศซูดาน และขอบนอกของเขตป่าฝนเมืองร้อน (ลุ่มแม่น้ำคองโก)  ในทวีปแอฟริกา

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสูงๆ  เช่น  หญ้าคา  ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์  ในฤดูฝนจะดูเขียวชอุ่มสดชื่น และแห้งแล้งเป็นสีน้ำตาลในฤดูแล้ง  ติดไฟง่าย    สัตว์ป่าที่สำคัญในเขตนี้เช่น  สิงโต  เสือดำ  เสือดาว  และสัตว์ประเภทกวางชนิดต่างๆ

                                                4.  ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสแตปป์  (Stepps Climate  :  Bsh, Bsk )   ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบกึ่งทะเลทราย  เป็นบริเวณที่อยู่รอบๆ ทะเลทราย  และบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งที่มีภูเขาสูงล้อมรอบ (Basin)  เช่น ทะเลทรายตาริม ในอินเดีย   ปริมาณน้ำฝนในเขตทุ่งหญ้าสแตปป์มีปริมาณน้อยมาก  บางแห่งไม่มีฝนตกเลย  ทำให้บริเวณนี้จะทำการเพาะปลูกได้ต้องอาศัยระบบชลประทานเข้าช่วยจึงจะสามารถเพาะปลูกได้

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนี้เป็น หญ้าตนสั้นๆ  รากตื้น   โดยมากอยู่ในบริเวณกึ่งแห้งแล้ง  ในบริเวณที่แห้งแล้งมากตนหญ้าก็จะสั้นมาก  ในช่วงฤดูฝนในพื้นทีที่มีฝนตกพอเพียงก็จะทำให้ต้นหญ้าเหล่านี้เจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว จนทำให้กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจีขนาดใหญ่ แต่เมื่อหมดฝน ทุ่งหญ้าเหล่านี้ก็เฉาตายกลายเป็นทุ่งหญ้าต้นสั้นๆ เหมือนเดิม

                                                5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  (Mediterenean Climate  :  Cs )    เป็นลักษณะภูมิอากาศที่จัดว่า  ดีที่สุดในโลก   ภูมิอากาศส่วนใหญ่ อบอุ่นตลอดปี  ฤดูหนาวมีฝนตกเล็กน้อย  อากาศอบอุ่นสบายดี ฤดูร้อนท้องฟ้าโปร่ง อากาศอบอุ่น  ได้แก่บริเวณรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ซึ่งกั้นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา   บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทรกีส-ยูเฟรตีส  (ที่ราบเมโสโปเตเมีย)   แคลิฟอร์เนียตอนกลางและตอนใต้  ทางชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา   ซิลีตอนกลาง   ตอนใต้สุดด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา  บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย   เป็นบริเวณที่มีผู้คนนิยมไปผักผ่อนตากอากาศมากที่สุด  โดยเฉพาะเมืองมาร์เซลล์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติของบริเวณนี้เป็น ป่าไม้แบบผสมที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ  ต้นไม้สูงจะขึ้นห่างๆ กัน ไม่เบียดชิดหนาแน่นเหมือนเขตร้อนชื้น  ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่มีเปลือกหนาห่อหุ้มลำต้น ที่สำคัญได้แก่ ต้นคอร์ด  ต้นโอ๊ค   เปลือกของต้นคอร์คถูกนำไปใช้เป็น จุกคอร์คสำหรับปิดขวด   พืชสำคัญในเขตเมดิเตอร์เรเนียนได้แก่ ส้ม  อะงุ่น   เป็นต้น

ภูมิอากาศของโลก1

       5. ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที

                                                อีกปัจจัยนึ่งที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ  คือ  ความสูง ต่ำ จากระดับน้ำทะเล ของบริเวณพื้นที่นั้นๆ  โดยปกติแล้วอุณหภูมิของอากาศจะมี อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยเฉลี่ยปกติ (Normal Lapes Rate)  คือ  อุณหภูมิจะลดลง  6.5  องศาเซียนเซียส ( C ) ทุกๆ ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล   ดังนั้นในบริเวณพื้นทีที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  เช่น เทือกเขาสูงๆ  จะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณเนินเขา หรือบริเวณที่ราบเชิงเขา   ในบริเวณพื้นทีที่เป็นที่ราบสูง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  จะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณที่ราบต่ำ หรือที่ราบลุ่ม  ดังนั้นยิ่งพื้นที่บริเวณใดที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  อุณหภูมิของอากาศก็จะลดต่ำลง     บริเวณที่อยู่สูง 3,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไปจะมีหิมะปกคลุมตลอดปี  ซึ่งเราเรียกระดับความสูงนี้ว่า แนวหิมะ

     6. ลมประจำ

                                                อุณหภูมิของอากาศบริเวณต่างๆ  บนพื้นโลกจะเป็นไปในลักษณะของการเคลื่อนที่ของอากาศที่มีความร้อน และความเย็น ที่ลมเป็นพาหนะพัดพามา  เช่น  ลมร้อนก็จะทำให้อากาศร้อนขึ้น  ลมเย็นก็จะทำให้อากาศหนาวเย็น    ลมที่พัดอยู่เป็นประจำในเขตพื้นที่ต่างๆ  ก็จะมีลักษณะประจำตัว คือ บางบริเวณก็เป็น ลมร้อน  บางบริเวณก็เป็น ลมร้อน  ซึ่งจะมีผลต่ออุณหภูมิของอากาศในบริเวณนั้นๆ   ลมประจำที่สำคัญ เช่น  ลมสิรอคโค  ลมเพิน  ลมซินุค  และลมตะเภา  เป็นต้น

      7.  กระแสน้ำในมหาสมุทร

                                                กระแสน้ำในมหาสมุทรมีลักษณะคล้ายกับกระแสลม คือ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ กระแสน้ำอุ่น และ กระแสน้ำเย็น  กระแสน้ำอุ่นเป็นกระแสน้ำที่ก่อกำเนิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร หรือบริเวณละติจูดต่ำ  เป็นกระแสน้ำทีมีอุณหภูมิสูง จะไหลไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ คือบริเวณขั้วโลกหรือบริเวณที่มีละติจูดสูงกว่า   ส่วนกระแสน้ำเย็นจะก่อกำเนิดขึ้นในบริเวณใกล้ขั้วโลกหรือบริเวณละติจูดสูง เป็นกระแสน้ำทีมีอุณหภูมิต่ำจะไหลเข้าไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรหรือละติจูดที่ต่ำกว่า   เหมือนการพัดถ่ายเทของกระแสลม หมุนเวียนกันไป

                                                กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นเมื่อไหลผ่านไปยังชายฝั่งใด ก็จะส่งอิทธิพลให้บริเวณชายฝั่งนั้นๆ  มีอุณหภูมิเปลี่ยนไปตามกระแสน้ำนั้นๆ  เช่น หากชายฝั่งใดมีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ก็จะทำให้ชายฝั่งบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ที่กระแสน้ำอุ่นไม่ได้ไหลผ่าน  หากชายฝั่งใดมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นก็จะต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ ที่ไม่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน

ภูมิอากาศของโลก

           ปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดอุณหภูมิของอากาศ

              ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการกระจายความร้อน หนาว  ของอุณหภูมิตามพื้นผิวโลก คือ

                 1.  การตกกระทบของแสงจากดวงอาฑิตย์                                2.  ตำแหน่งที่ตั้งทางละติจูด

                 3.  ความแตกต่างระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ                               4.  ความใกล้-ไกลจากทะเลและมหาสมุทร

                 5.  ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่                                                 6.  ลมประจำ

                 7.  กระแสน้ำในมหาสมุทร                                                                                                                                                                                                                                                                

            1.การตกกระทบชองลำแสงจากดวงอาฑิตย์

                                                แหล่งสำคัญของความร้อนที่บรรยากาศได้รับ คือ ความร้อนจากดวงอาฑิตย์ ที่ส่องผ่านอากาศลงมายังพื้นผิวโลก  พลังงานดวงอาฑิตย์ที่ส่องลงมานี้เรียกว่า พลังงานแสงแดด  (Insolation)  ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตในโลกมากที่สุด

                                                พลังงานแสงแดดมีปริมาณที่เปลี่ยนแปลงได้  เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาฑิตย์เป็นรูปวงรี  เป็นผลให้โลกมีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาฑิตย์มากที่สุด  ในวันที่ 4 กรกฏาคม ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า เพอริฮีเลี่ยน  (Perihelian)  มีระยะทาง 91.5 ล้านไมล์   และอยู่ไกลมากที่สุด ในวันที่ 2 มกราคม  ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า แฮปเฮเลี่ยน  (Aphelian)  มีระยะทาง 94.5 ล้านไมล์

                                                พลังงานแสงแดดที่ส่องมากระทบพื้นโลกจะถูกบรรยากาศดูดซับไว้ส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งจะเกิดการสะท้อนกลับเมื่อกระทบพื้นผิวโลก  การตกกระทบชองลำแสงจากดวงอาฑิตย์ที่กระทำกับผิวโลกมี  2  ลักษณะ คือ  ลำแสงตรง และ ลำแสงเฉี่ยง    บริเวณที่ลำแสงจากดวงอาฑิตย์ตกกระทบทำมุมกับผิวโลกเป็นมุมมากกว่า 45 องศา ถึง 90 องศา  เป็นลำแสงตรง  โดยเฉพาะลำแสงที่ทำมุม 90 องศากับพื้นผิวโลก  จะเป็นลำแสงที่ทำให้เกิดความร้อนมากที่สุด เนื่องจากเกิดการสะท้อนกลับของลำแสงน้อย พื้นผิวโลกจะดูดซับความร้อนได้อย่างเต็มที  ซึ่งได้แก่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก

                                                ในอีกลักษณะหนึ่ง คือ  ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวโลกโดยทำมุมน้อยกว่า 45 องศาลงมา  จนถึง 0 องศา  ซึ่งเป็นลำแสงเฉี่ยง  ลำแสงที่ตกกระทบทำมุมกับผิวโลกน้อยมาก เกิดการสะท้อนกลับเกือบทั้งหมด  จะให้พลังงานความร้อนกับผิวโลกน้อย  จึงทำให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นต่ำ  ได้แก่บริเวณที่อยู่ใกล้กับขั้วโลก ตั้งแต่เส้นละติจูด 66  ½  องศา ขึ้นไป

                                                เนื่องจากแกนของโลกเอียงทำมุม  23 ½   องศา  และโลกหมุนรอบดวงอาฑิตย์เป็นรูปวงรี  จึงทำให้พื้นผิวโลกด้านที่หันเข้ารับแสงจากดวงอาฑิตย์ซึ่งเป็นเวลากลางวัน  มีระยะเวลาไม่เท่ากัน  คือ  ทำให้ซีกด้านหนีงเป็น ระยะเวลากลางวันยาว (ฤดูร้อน)   ทำให้ได้รับพลังงานความร้อนนานกว่าอีกซึกโลกหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเวลากลางคืนยาว (ฤดูหนาว)  เป็นเหตุทำให้เกิดความแตกต่างของการกระจายของแสงจากดวงอาฑิตย์

        2. ตำแหน่งที่ตั้งทางละติจูด

                                                บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก  ระหว่างเส้นละติจูด  23 ½   องศาเหนือ  ถึงละติจูดที่ 23 ½   องศาใต้  เป็นบริเวณที่ได้รับแสงตรงจากดวงอาฑิตย์มากที่สุด  โดยเฉพาะบริเวณเส้นละติจูด  0  องศา  ตำแหน่งละติจูดที่อยู่สูงขึ้นไปจะได้รับลำแสงเฉี่ยงจากดวงอาฑิตย์ ยิ่งสูงมากลำแสงที่ตกกระทบยิ่งเฉี่ยงมาก และจะเฉี่ยงมากที่สุดที่บริเวณขั้วโลก  

                                                ดังนั้นพื้นทีที่อยู่ใกล้ขั้วโลก หรือบริเวณขั้วโลก จึงมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณศูนย์สูตร  หรือจะกล่าวว่าบริเวณที่มีละติจูดสูงอุณหภูมิของอากาศจะต่ำ (หนาว)  บริเวณละติจูดต่ำอุณหภูมิของอากาศจะสูง (ร้อน)

         3. ความแตกต่างระหว่างพื้นดิน และพื้นน้ำ

                                                พื้นดินและพื้นน้ำมีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อน และการคายความร้อนที่ต่างกัน  โดยทั่วไปแล้วพื้นดินมีคุณสมบัติในการดูดซับและคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ  ดังนั้นเมื่อพื้นดินและพื้นน้ำได้รับพลังงานความร้อนจากลำแสงของดวงอาฑิตย์ในเวลากลางวันพร้อมๆ กันและเท่าๆ กัน บริเวณดพื้นดินจะดูดซับความร้อนได้ดีกว่าจึงมีความร้อนสูงกว่าพื้นน้ำ ซึ่งดูดซับความร้อนได้น้อยกว่า    และเมื่อถึงเวลากลางคืน พื้นดินจะมีคุณสมบัติในการคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ จึงทำให้บริเวณพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นน้ำ 

                                                ผลของความแตกต่างในการดูดซับและคายความร้อนของพื้นดินและพื้นน้ำนี้  เป็นผลที่ทำให้เกิดลักษณะ ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป (Contimental)  และ ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร (Marine)  ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก

        4. ความใกล้ ไกล จากทะเลและมหาสมุทร

                                                เนื่องจากบริเวณพื้นดินเป็นบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ  แม้ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูดเดียวกันก็ตาม  ดังนั้นพื้นทีที่อยู่ไกลจากทะเลและมหาสมุทร หรือลึกเข้าไปในแผ่นดินมากๆ  อุณหภูมิของอากาศยิ่งร้อนขึ้น เนื่องจากขาดความชุ่มชื้นของไอน้ำจากทะเลและมหาสมุทร  พื้นทีที่อยุ่ไกลจากทะเลและมหาสมุทรมากๆ จะเป็นบริเวณที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อน แตกต่างกันมาก กล่าวคือ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศจะลดต่ำลงมาก ทำให้อากาศหนาว ถึงหนาวจัด  แต่เมื่อถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศจะสูงมาก ทำให้อากาศร้อน ถึงร้อนจัด     ส่วนพื้นทีที่อยู่ใกล้กับทะเลและมหาสมุทร ความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว มีไม่มากนัก ฤดูร้อนอากาศก็ไม่ร้อนจัด  ฤดูหนาวอากาศก็ไม่หนาวมากมายนัก  เนื่องจากได้รับอิทธิของไอน้ำจากทะเลและมหาสมุทรนั้นเอง

                                                ทะเลสาบใหญ่ๆ  ก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเช่นเดียวกับทะเลและมหาสมุทร   ซึ่งอิทธิพลนี้จะเป็นไปตามขนาดของทะเลสาบนั้นๆ  หากมีขนาดใหญ่มากก็จะมีอิทธิพลต่อพื้นดินที่อยู่โดยรอบมากๆ  เช่นทะเลสาบทั้งห้า (HOMES)  ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศลึกเข้าไปถึง 2.3 กิโลเมตร