วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ภูมิอากาศของโลก1

       5. ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที

                                                อีกปัจจัยนึ่งที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ  คือ  ความสูง ต่ำ จากระดับน้ำทะเล ของบริเวณพื้นที่นั้นๆ  โดยปกติแล้วอุณหภูมิของอากาศจะมี อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยเฉลี่ยปกติ (Normal Lapes Rate)  คือ  อุณหภูมิจะลดลง  6.5  องศาเซียนเซียส ( C ) ทุกๆ ระดับความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล   ดังนั้นในบริเวณพื้นทีที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  เช่น เทือกเขาสูงๆ  จะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณเนินเขา หรือบริเวณที่ราบเชิงเขา   ในบริเวณพื้นทีที่เป็นที่ราบสูง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  จะมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณที่ราบต่ำ หรือที่ราบลุ่ม  ดังนั้นยิ่งพื้นที่บริเวณใดที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ  อุณหภูมิของอากาศก็จะลดต่ำลง     บริเวณที่อยู่สูง 3,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไปจะมีหิมะปกคลุมตลอดปี  ซึ่งเราเรียกระดับความสูงนี้ว่า แนวหิมะ

     6. ลมประจำ

                                                อุณหภูมิของอากาศบริเวณต่างๆ  บนพื้นโลกจะเป็นไปในลักษณะของการเคลื่อนที่ของอากาศที่มีความร้อน และความเย็น ที่ลมเป็นพาหนะพัดพามา  เช่น  ลมร้อนก็จะทำให้อากาศร้อนขึ้น  ลมเย็นก็จะทำให้อากาศหนาวเย็น    ลมที่พัดอยู่เป็นประจำในเขตพื้นที่ต่างๆ  ก็จะมีลักษณะประจำตัว คือ บางบริเวณก็เป็น ลมร้อน  บางบริเวณก็เป็น ลมร้อน  ซึ่งจะมีผลต่ออุณหภูมิของอากาศในบริเวณนั้นๆ   ลมประจำที่สำคัญ เช่น  ลมสิรอคโค  ลมเพิน  ลมซินุค  และลมตะเภา  เป็นต้น

      7.  กระแสน้ำในมหาสมุทร

                                                กระแสน้ำในมหาสมุทรมีลักษณะคล้ายกับกระแสลม คือ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ กระแสน้ำอุ่น และ กระแสน้ำเย็น  กระแสน้ำอุ่นเป็นกระแสน้ำที่ก่อกำเนิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร หรือบริเวณละติจูดต่ำ  เป็นกระแสน้ำทีมีอุณหภูมิสูง จะไหลไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ คือบริเวณขั้วโลกหรือบริเวณที่มีละติจูดสูงกว่า   ส่วนกระแสน้ำเย็นจะก่อกำเนิดขึ้นในบริเวณใกล้ขั้วโลกหรือบริเวณละติจูดสูง เป็นกระแสน้ำทีมีอุณหภูมิต่ำจะไหลเข้าไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรหรือละติจูดที่ต่ำกว่า   เหมือนการพัดถ่ายเทของกระแสลม หมุนเวียนกันไป

                                                กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นเมื่อไหลผ่านไปยังชายฝั่งใด ก็จะส่งอิทธิพลให้บริเวณชายฝั่งนั้นๆ  มีอุณหภูมิเปลี่ยนไปตามกระแสน้ำนั้นๆ  เช่น หากชายฝั่งใดมีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ก็จะทำให้ชายฝั่งบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ที่กระแสน้ำอุ่นไม่ได้ไหลผ่าน  หากชายฝั่งใดมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นก็จะต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ ที่ไม่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น