วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ภูมิอากาศของโลก

           ปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดอุณหภูมิของอากาศ

              ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการกระจายความร้อน หนาว  ของอุณหภูมิตามพื้นผิวโลก คือ

                 1.  การตกกระทบของแสงจากดวงอาฑิตย์                                2.  ตำแหน่งที่ตั้งทางละติจูด

                 3.  ความแตกต่างระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ                               4.  ความใกล้-ไกลจากทะเลและมหาสมุทร

                 5.  ลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่                                                 6.  ลมประจำ

                 7.  กระแสน้ำในมหาสมุทร                                                                                                                                                                                                                                                                

            1.การตกกระทบชองลำแสงจากดวงอาฑิตย์

                                                แหล่งสำคัญของความร้อนที่บรรยากาศได้รับ คือ ความร้อนจากดวงอาฑิตย์ ที่ส่องผ่านอากาศลงมายังพื้นผิวโลก  พลังงานดวงอาฑิตย์ที่ส่องลงมานี้เรียกว่า พลังงานแสงแดด  (Insolation)  ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตในโลกมากที่สุด

                                                พลังงานแสงแดดมีปริมาณที่เปลี่ยนแปลงได้  เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาฑิตย์เป็นรูปวงรี  เป็นผลให้โลกมีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาฑิตย์มากที่สุด  ในวันที่ 4 กรกฏาคม ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า เพอริฮีเลี่ยน  (Perihelian)  มีระยะทาง 91.5 ล้านไมล์   และอยู่ไกลมากที่สุด ในวันที่ 2 มกราคม  ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า แฮปเฮเลี่ยน  (Aphelian)  มีระยะทาง 94.5 ล้านไมล์

                                                พลังงานแสงแดดที่ส่องมากระทบพื้นโลกจะถูกบรรยากาศดูดซับไว้ส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งจะเกิดการสะท้อนกลับเมื่อกระทบพื้นผิวโลก  การตกกระทบชองลำแสงจากดวงอาฑิตย์ที่กระทำกับผิวโลกมี  2  ลักษณะ คือ  ลำแสงตรง และ ลำแสงเฉี่ยง    บริเวณที่ลำแสงจากดวงอาฑิตย์ตกกระทบทำมุมกับผิวโลกเป็นมุมมากกว่า 45 องศา ถึง 90 องศา  เป็นลำแสงตรง  โดยเฉพาะลำแสงที่ทำมุม 90 องศากับพื้นผิวโลก  จะเป็นลำแสงที่ทำให้เกิดความร้อนมากที่สุด เนื่องจากเกิดการสะท้อนกลับของลำแสงน้อย พื้นผิวโลกจะดูดซับความร้อนได้อย่างเต็มที  ซึ่งได้แก่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก

                                                ในอีกลักษณะหนึ่ง คือ  ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวโลกโดยทำมุมน้อยกว่า 45 องศาลงมา  จนถึง 0 องศา  ซึ่งเป็นลำแสงเฉี่ยง  ลำแสงที่ตกกระทบทำมุมกับผิวโลกน้อยมาก เกิดการสะท้อนกลับเกือบทั้งหมด  จะให้พลังงานความร้อนกับผิวโลกน้อย  จึงทำให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นต่ำ  ได้แก่บริเวณที่อยู่ใกล้กับขั้วโลก ตั้งแต่เส้นละติจูด 66  ½  องศา ขึ้นไป

                                                เนื่องจากแกนของโลกเอียงทำมุม  23 ½   องศา  และโลกหมุนรอบดวงอาฑิตย์เป็นรูปวงรี  จึงทำให้พื้นผิวโลกด้านที่หันเข้ารับแสงจากดวงอาฑิตย์ซึ่งเป็นเวลากลางวัน  มีระยะเวลาไม่เท่ากัน  คือ  ทำให้ซีกด้านหนีงเป็น ระยะเวลากลางวันยาว (ฤดูร้อน)   ทำให้ได้รับพลังงานความร้อนนานกว่าอีกซึกโลกหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเวลากลางคืนยาว (ฤดูหนาว)  เป็นเหตุทำให้เกิดความแตกต่างของการกระจายของแสงจากดวงอาฑิตย์

        2. ตำแหน่งที่ตั้งทางละติจูด

                                                บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก  ระหว่างเส้นละติจูด  23 ½   องศาเหนือ  ถึงละติจูดที่ 23 ½   องศาใต้  เป็นบริเวณที่ได้รับแสงตรงจากดวงอาฑิตย์มากที่สุด  โดยเฉพาะบริเวณเส้นละติจูด  0  องศา  ตำแหน่งละติจูดที่อยู่สูงขึ้นไปจะได้รับลำแสงเฉี่ยงจากดวงอาฑิตย์ ยิ่งสูงมากลำแสงที่ตกกระทบยิ่งเฉี่ยงมาก และจะเฉี่ยงมากที่สุดที่บริเวณขั้วโลก  

                                                ดังนั้นพื้นทีที่อยู่ใกล้ขั้วโลก หรือบริเวณขั้วโลก จึงมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าบริเวณศูนย์สูตร  หรือจะกล่าวว่าบริเวณที่มีละติจูดสูงอุณหภูมิของอากาศจะต่ำ (หนาว)  บริเวณละติจูดต่ำอุณหภูมิของอากาศจะสูง (ร้อน)

         3. ความแตกต่างระหว่างพื้นดิน และพื้นน้ำ

                                                พื้นดินและพื้นน้ำมีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อน และการคายความร้อนที่ต่างกัน  โดยทั่วไปแล้วพื้นดินมีคุณสมบัติในการดูดซับและคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ  ดังนั้นเมื่อพื้นดินและพื้นน้ำได้รับพลังงานความร้อนจากลำแสงของดวงอาฑิตย์ในเวลากลางวันพร้อมๆ กันและเท่าๆ กัน บริเวณดพื้นดินจะดูดซับความร้อนได้ดีกว่าจึงมีความร้อนสูงกว่าพื้นน้ำ ซึ่งดูดซับความร้อนได้น้อยกว่า    และเมื่อถึงเวลากลางคืน พื้นดินจะมีคุณสมบัติในการคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ จึงทำให้บริเวณพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นน้ำ 

                                                ผลของความแตกต่างในการดูดซับและคายความร้อนของพื้นดินและพื้นน้ำนี้  เป็นผลที่ทำให้เกิดลักษณะ ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป (Contimental)  และ ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร (Marine)  ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก

        4. ความใกล้ ไกล จากทะเลและมหาสมุทร

                                                เนื่องจากบริเวณพื้นดินเป็นบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ  แม้ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูดเดียวกันก็ตาม  ดังนั้นพื้นทีที่อยู่ไกลจากทะเลและมหาสมุทร หรือลึกเข้าไปในแผ่นดินมากๆ  อุณหภูมิของอากาศยิ่งร้อนขึ้น เนื่องจากขาดความชุ่มชื้นของไอน้ำจากทะเลและมหาสมุทร  พื้นทีที่อยุ่ไกลจากทะเลและมหาสมุทรมากๆ จะเป็นบริเวณที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อน แตกต่างกันมาก กล่าวคือ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศจะลดต่ำลงมาก ทำให้อากาศหนาว ถึงหนาวจัด  แต่เมื่อถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของอากาศจะสูงมาก ทำให้อากาศร้อน ถึงร้อนจัด     ส่วนพื้นทีที่อยู่ใกล้กับทะเลและมหาสมุทร ความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว มีไม่มากนัก ฤดูร้อนอากาศก็ไม่ร้อนจัด  ฤดูหนาวอากาศก็ไม่หนาวมากมายนัก  เนื่องจากได้รับอิทธิของไอน้ำจากทะเลและมหาสมุทรนั้นเอง

                                                ทะเลสาบใหญ่ๆ  ก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเช่นเดียวกับทะเลและมหาสมุทร   ซึ่งอิทธิพลนี้จะเป็นไปตามขนาดของทะเลสาบนั้นๆ  หากมีขนาดใหญ่มากก็จะมีอิทธิพลต่อพื้นดินที่อยู่โดยรอบมากๆ  เช่นทะเลสาบทั้งห้า (HOMES)  ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศลึกเข้าไปถึง 2.3 กิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น