วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ทวีปเอเชีย

ทวีปเอเซีย
ลักษณะทั่วไป  ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก  มีพื้นที่กว้างขวาง  ตั้งแต่บริเวณเหนือสุดของโลกลงไปเกือกถึงขั้วโลกใต้  มีลักษณะภูมิ ประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันหลากหลายลักษณะ  รวมทั้งประชากรที่มีอยู่หลายเผ่าพันธุ์
ขนาดและที่ตั้ง ทวีปเอเชียมีเนื้อที่ประมาณ  42  ล้านตารางกิโลเมตร  นับเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ทึ่สุดของโลก  และใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดถึง  5  เท่า   ส่วนที่กว้างที่สุดของทวีปเอเซีย  วัดจาก แหลมเคสเนพ  (Dezhnev) หรือ  อีสต์เคป  (East  Cape)   ที่ช่องแคบเบริง  ถึงตอนใต้สุดของ         คาบสมุทรอาหรับ  ที่ปากทะเลแดง  เป็นระยะทางประมาณ 11,000 กิโลเมตร  หรือเท่ากับ 2 / 7 ของเส้นรอบโลกความจริงทวีปเอเซีย  ทวีปยุโรป  และทวีปแอฟริกา   เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ต่อเนื่องกัน เป็นผืนแผ่นดินเดียว หรือ ทวีปเดียวกัน  ต่อมาได้เกิดการแยกตัวออกเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน   โดยเฉพาะทวีปเอเชียกับทวีปทวีปยุโรป เป็นผืนแผ่นดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด   ซึ่งเราเรียกผืนแผ่นดินนี้ว่า  ยูเรเซีย  (Eurasia)    ซึ่งเป็นลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนกว่าทวีปอื่นๆ   พืนแผ่นดินของทวีปเอเซีย เป็นพืนแผ่นดินที่ที่อยู่คงที ในขณะที่ แผ่นดินอื่นๆ  ก็เคลื่อนที่ออกไปอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันขอบเขตของทวีปเอเชียมีดังนี้คือ
ทิศเหนือ     ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก  ดินแดนที่อยู่เหนือที่สุดของทวีป (ไม่รวมเกาะ)  คือ  แหลมชิลยูสกิน (Cape  Chelyuskin)  ที่ละติจูดที่  77 องศาเหนือ
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก  และทะเลต่างๆ  ได้แก่  ทะเลเบริง  ทะเลโอคอตสก์  ทะเลญี่ปุ่น  ทะเลเหลือง
ทะเลจีนตะวันออก  หรือ ตุงไฮ   ทะเลจีนใต้ หรือ นานไฮ
ทิศใต้      ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย   มีทะเลและน่านน้ำต่างๆ  ได้แก่อ่าวเบงกอล  ทะเลอาหรับ  อ่าวเปอร์เซีย  และอ่าวเอเดนดินแดนที่อยู่ใต้สุดของทวีป (ไม่รวมเกาะ)  คือ  แหลมโรมาเนีย  (Cape Romania)   ในรัฐยะโฮร์  ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับทะเลแดง  ซึ่งกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกา  (ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นทะเลที่กั้นอยู่ระหว่าง3  ทวีป  คือ ทวีปเอเซีย  ยุโรป  และแอฟริกา)     ทะเลอีเจียน และ ทะเลดำ  กั้นอยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป     เทือกเขาคอเคซัส    แม่น้ำยูราลเทือกเขายูราล  บนชายฝั่งมหาสมุทรอาร์ติก  กับทะเลแคสเปียน (ทะเลภายในที่ใหญ่ที่สุดของโลก)    จากที่ตั้งของทวีปเอเซีย  จะเห็นได้ว่ามีดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร  ยกเว้นหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย  ที่มีบางส่วนอยู่บนเส้นศูนย์สูตร และใต้เส้นศูนย์สูตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ตามลักษณะโครงสร้างของทวีปเอเชียทางธรณีวิทยา  และทางภูมิประเทศ  อาจแบ่งออกเป็นเขตใหญ่ๆ  ดังต่อไปนี้
1.  เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ  (The  Northern  Lowlands)   หรือเรียกว่า ที่ราบต่ำไซบีเรีย   มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่  บางตอน
เป็นที่ลุ่มมีน้ำขั้ง  มีแม่น้ำสายใหญ่ๆ  หลายสาย  ซี่งเป็นต้นน้ำอยู่ในเขตที่สูงทางภาคใต้ของไซบีเรีย  และไหลขึ้นไปทางเหนือ  ลงสู่มหาสมุทรอาร์กติกได้แก่แม่น้ำอ็อบ (Ob)   แม่น้ำเยนิเซ (Yenisei)   แม่น้ำลีนา (Lena)    แม่น้ำเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้น้อย  เพราะตอนปลายของลำน้ำอยู่ในเขตหนาว  น้ำแข็งตัวเป็นน้ำแข็งเป็นเวลานาน
2.  เขตภูเขาและที่ราบสูงสามเหลี่ยมตอนกลางทวีป   (The  Central  Triangle  of  Young  Folded  Mountains)    เป็นระบบ
เทือกเขาและที่ราบสูงที่พึ่งเกิดใหม่  อยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย  ประกอบด้วยเทือกเขาสูงๆ  มากมาย  เทือกเขาเหล่านี้ส่วนใหญ่แยกออกไปจากจุดรวม ที่เรียกว่า ปามีร์นอต  (Pamir  Knot)    ซึ่งอยู่ในเขตของประเทศโซเวียต   ปามีร์นอตหรือที่ราบสูงปามีร์  ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า บามี ดุนยา(Bami Dunya)  แปลว่า หลังคาโลก (Roof  of  World)  เพราะเป็นบริเวณที่เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก    มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,300 เมตรส่วนตอนที่เป็นยอดเขาสูงๆ  มีความสูงมากกว่า 7,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล  นอกจากนี้ยังเป็นจุดร่วมที่เทือกเขาต่างๆ  มาบรรจบกัน  จึงเปรียบเสมือนเป็นหลังคาของโลก (หรืออาจจะกล่าวได้ว่า  เป็นจุดเริ่มต้นของแนวเทือกเขาต่างๆ ในโลก  เพราะจากจุดปามีร์ นอตนี้ สามารถลากแนวของเทือกเขาต่างๆ ได้เกือบทุกทวีป หรือทั่วโลก)
จากจุดรวมปามีร์ นอต  มีเทือกเขาแยกออกไปหลายแนว  คือ  แนวที่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้  เป็น เทือกเขาหิมาลัย  มียอดสูงเขาเอเวอเรสต์ (Everest)  เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของโลก  สูง 8,700  เมตรจากระดับน้ำทะเล  เทือกเขานี้ยาวประมาณ 2,500 กิโลเมตร   ไปสิ้นสุดลงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียติดต่อกับตอนเหนือของพม่า  แต่ก็ยังคงมีแนวของเทือกเขาสูงที่ต่อลงไปทางตะวันตกของพม่า จนถึงอ่าวเลงกอล                                ถัดทางเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทาง เหนือ  มีเทือกเขาคุนลุน (Kunlun Mountains)   ระหว่างเทือกเขาหิมาลัย กับเทือกเขาคุนลุนเป็นที่ราบสูงทิเบต  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดของโลก  มีระดับความสูงโดยเฉลี่ย  4,800  เมตร    จากปามีร์  นอต  ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็น เทือกเขาเทียนซาน (Tien Shan)  ซึ่งมีแนวต่อเข้าไปในเขตมองโกเลีย  และไซบีเรียตะวันออก
ระหว่างเทือกเขาเทียนซานกับเทือกเขาคุนลุน  เป็นที่ราบสูงตากลามากัน  (Takla  Makan Basin)
ทางด้านตะวันตกของปามีร์  นอต  มีเทือกเขา  2  แนว  คือทางตะวันตกเฉียงใต้มี  เทือกเขาสุไลมาน (Sulaiman)  ผ่านเข้าไปในเขตของปากีสถาน  และเทือกเขาฮินดูกูช  เข้าไปในเขตของอัฟกานิสถาน    นอกจากเทือกเขาใหญ่ๆ  ทีอยู่ในผืนแผ่นดินใหญ่แล้ว  ยังมีแนวของเทือกเขาที่พบอยู่ในหมู่เกาะทางตะวันออก  และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปด้วย  เช่น ในหมู่เกาะญึ่ปุ่น  หมู่เกาะฟิลิปปิน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เทือกเขาเหล่านี้เป็นภูเขาไฟที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่  เช่นเดียวกับเทือกเขาหิมาลัย  มีภูเขาไฟทั้งที่ดับแล้วและยังไม่ดับอยู่เป็นจำนวนมาก  แสดงให้เห็นว่าเปลือกโลกส่วนนี้ยังไม่สงบตัวดี
ในเขตที่ราบสูงทิเบต  เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่ๆ  ของทวีปเอเชียหลายสาย  ได้แก่  แม่น้ำแยงซีเกียง  (Yangtze Kiang)
เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของประเทศจีน  และของทวีปเอเซีย  ยาวประมาณ 5,120 กิโลเมตร   แม่น้ำฮวงโห  (Hwang  Ho)    แม่น้ำโขง (Mekong)
แม่น้ำพรหมบุตร (Branmaputra)   และแม่น้ำสินธุ (Indus)
3.  เขตที่ราบสูงเก่าภาคใต้  (The  Old  Plateaus  of  the  South)   ทางภาคใต้ของทวีป  มีบริเวณที่เป็นหินเปลือกโลกอายุเก่าแก่
และมีลักษณะเป็นที่ราบสูง  ได้แก่  ที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau)   ในคาบสมุทรอินเดีย   ที่ราบสูงอาหรับ (Arabian  Plateau)  ในคาบสมุทรอาหรับ
4.  เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่  (The  Great  River  Valleys)   เป็นที่ราบใหญ่อันอุดมสมบูรณ์  เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำสายใหญ่ๆ  ได้นำพามาทับถมกัน  ที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่
ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห  แยงซีเกียง  ซีเกียง    ได้แก่ดินแดนทางภาคตะวันออกของจีน  ซึ่งเป็นที่ราบตอนปลายของ
แม่น้ำทั้ง  3  สาย  เกือบจะเป็นที่ราบติดต่อกัน  มีทิวเขาเตี้ยๆ  กั้นอยู่เท่านั้น
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง   ได้แก่ตอนปลายของลุ่มแม่น้ำโขง  ในเขตของประเทศเวียตนาม และกัมพูชา
ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ   คงคา   อยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรอินเดีย  ตั้งแต่ปากแม่น้ำสินธุในทะเลอาหรับ  จนถึง
ปากแม่น้ำคงคาในอ่าวเบงกอล  มีลักษณะเป็นที่ราบติดต่อกันเป็นผืนเดียว  มีความยาวประมาณ 2,400  กิโลเมตร
ที่ราบแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติส     อยู่ในเขตประเทศอิรัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น