วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ทวีปเอเชีย1

ลักษณะภูมิอากาศ
จากรูปร่างลักษณะและที่ตั้งของทวีปเอเซีย  จะเห็นได้ว่ามีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศของทวีปบางประการคือ
1.  ละติจูด   ทวีปเอเชียตั้งอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับละติจูด  83  องศาเหนือ  ฉะนั้นจึงมีภูมิอากาศทั้งประเภทร้อน  อบอุ่น  และหนาวเย็น
2.  ขนาด   ทวีปเอเชียมีขนาดกว้างใหญ่มาก  และยังเป็นผืนแผ่นดินต่อเนื่องกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา  ทำให้ทางตอนกลางของทวีปเอเชียอยู่ห่างจากมหาสมุทรมาก (ความใกล้-ไกลจากทะเลและมหาสมุทร)    เป็นเหตุให้อิทธิพลจากพื้นน้ำไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ไกลภายในทวีป  จึงมีพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง  ตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงทางตอนกลางของทวีป  ส่วนที่เป็นเขตอากาศชื้นมีฝนตกพอเพียงนั้นมีจำกัดอยู่เฉพาะทางบริเวณภาคใต้  และภาคตะวันออกของทวีป    ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะลมฟ้าอากาศของทวีปเอเซีย  อันเนื่องมาจากขนาดและที่ตั้งของทวีป  มีดังต่อไปนี้
1.ทวีเอเชียเป็นทวีปที่มีอากาศแตกต่างกันมาก  คือมีบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดของโลก  ตามสถิติกาวัดอุณหภูมิปรากฏว่าที่เมือง เวอร์โคยันสถ์  ในเขตไซบีเรียของประเทศรัสเซีย  มีอุณหภูมิต่ำที่สุดถึง  - 76 องศาเซียวเซียส   แต่ในเขตทะเลทรายอาหรับปรากฏว่ามีอากาศร้อนจัดที่สุดของโลก  วัดอุณหภูมิได้ถึง  4045 องศาเซียวเซียส   และทวีปเอเชียยังมีบริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดของโลก
ที่เมืองเซราปุนจิ  ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย   มีฝนตกถึงปีละกว่า 400 นิ้ว   บริเวณตอนกลางของทวีปเป็นเขตอากาศแห้งแล้งเป็นทะเลทราย คือ ทะเลทรายโกบี  ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
2.    ทวีปเอเชียมีลักษณะของลมฟ้าอากาศที่เรียกว่า  ภูมิอากาศแบบมรสุม   ซึ่งเกิดจากความกดอากาศที่แตกต่างกันมากระหว่างทางตอนใต้ของทวีปกับมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง  เป็นผลให้เกิดมีลมพัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดู  กล่าวคือ  ในฤดูร้อน  ทางตอนกลางของทวีปเอเชีย  มีความกดอากาศต่ำมาก (อากาศร้อน)  จึงมีลมที่พัดจากบริเวณความกดอากาศสูง (อากาศเย็น)  ในมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก เข้ามาสู่บริเวณความกดอากาศต่ำในทวีป  เป็นลมที่นำ ความชื้นมาให้  จึงเกิดมี่ฝนตกทั่วๆ ไป  ทางชายฝั่งภาคใต้และภาคตะวันออกของทวีป  ที่รับทางลม  แต่เมือถึงฤดูหนาวความกดอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม  คือ  ทางตอนในของทวีปกลายเป็นบริเวณความกดอากาศสูง (อากาศหนาว)  และมีลมที่พัดออกไปสู่บริเวณความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) ในมหาสมุทรใกล้เคียง  เป็นลมที่แห้งแล้งเพราะพัดจากในทวีปออกมา  โดยทั่วๆ ไปในฤดูหนาวบริเวณที่ได้รับลมมรสุมนี้จึงเป็นฤดูแล้ง   ลักษณะของอากาศแบบมรสุมนี้  ความจริงในทวีปอื่นๆ ก็มี  แต่ไม่เห็น
เด่นชัดเหมือนอย่างในทวีปเอเซียและภูมิภาคของทวีปเอเชียที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมมากที่สุด จึงเรียกว่า  ภูมิภาคแถบมรสุม  ซึ่งได้แก่ภาคใต้  และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปและมีฤดูแล้งคั่นสลับอยู่  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบเมืองร้อน  บริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยจะเป็นพืชพรรณธรรมชาติแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสาวานนา  จัดเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นแถบมรสุม
การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปเอเซีย     ทวีปเอเชียมีเขตภูมิอากาศต่างๆ  8  เขต  ดังนี้
1. เขตอากาศร้อนชื้น  (Tropical  Rainy  Climate)   เป็นเขตที่มีอากาศร้อน  อุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี   และมีฝนตกมาก  บริเวณที่อยู่ใกล้เขตศูนย์สูตรเช่น  คาบสมุทรมาลายา  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี  ไม่มีฤดูแล้ง  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ  จัดเป็นภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร  ส่วนบริเวณที่อยู่ห่างจากศูนย์สูตรออกไป  เช่น  อินเดีย  พม่า  ไทย  มีฝนตกชุกเฉพาะในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
2.เขตทะเลทรายเถบร้อน  (Hot Desert  Climate)  มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมาก  เป็นทะเลทราย  หรือเป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายที่เรียกว่า   ทุ่งหญ้าสะเต๊ปป์ (Steppe)  ได้แก่บริเวณส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  ตั้งแต่ตอนเหนือของอินเดียไปจนถึงด้านตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียน
3.เขตทะเลทรายแถบอบอุ่น (Cold  Desert  Climate)   มีอากาศอบอุ่นและแห้งแล้งมาก  เป็นทะเลทรายหรือทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายได้แก่บริเวณส่วนใหญ่ทางภาคกลางของทวีปเอเซีย
4.เขตอบอุ่นชื้น (Humid  Subtropical  Climate)   มีอากาศอบอุ่น  อุณหภูมิปานกลาง  มีฝนตกตลอดทั้งปี  ไม่มีฤดูแล้ง  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ได้แก่ส่วนใหญ่ทางภาคตะวันออกของจีน และภาคใต้ของญี่ปุ่น
5.เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน     มีอากาศอบอุ่นในฤดูหนาว  และร้อนจัดในฤดูร้อน  มีฝนตกในฤดูหนาว  ฤดูร้อนเป็นระยะที่อากาศแห้งแล้ง  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบเขตอบอุ่น  ได้แก่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  คาบสมุทรตุรกี  และลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
6.เขตอากาศชื้นภาคพื้นทวีป  (Humid  Continental  Climate)   ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด  ฤดูร้อนอบอุ่น  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสน  หรือป่าไม้ผสมระหว่างป่าสนกับป่าไม้ผลัดใบ  ได้แก่ไซบีเรียตะวันออก  เกาหลี  แมนจูเรีย  และทางภาคเหนือของญี่ปุ่น
7.เขตอากาศหนาวกึ่งขั้วโลก (Sub-arctic Climate)   มีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสน  ซึ่งในรุสเซีย
เรียกป่าสนว่า ป่าไทก้า  (Taiga)   ได้แก่บริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือที่เรียกว่าเขตไซบีเรียทั้งหมด
8.เขตอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate)  เป็นอากาศแบบขั้วโลก  มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี  พืชพรรณธรรมชาติเป็นหญ้ามอสหรือตะไคร่น้ำ  ที่ทใช้เวลาเติบโตสั้นๆ  และทนอากาศหนาวได้  ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือของทวีปเอเซีย
ทรัพยากรและอาชีพ
การเพาะปลูก   ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศเกือบทุกประเภท  ฉะนั้นพืชพรรณไม้จึงมีมากมายหลายชนิด  ทั้งที่เป็นพืชพรรณธรรมชาติและที่เพาะปลูกขึ้น  ในเขตอากาศร้อน ชื้นแถบศูนย์สูตรและแถบมรสุมนั้น  เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก  และมีฤดูเพาะปลูกยาวนานตลอดทั้งปีจึงมีพืชผลเมืองร้อนชนิดต่างๆ ปลูกกันมาก  ที่นับว่าเป็นพืชหลักคือ ข้าวเจ้า  นอกจากนั้นก็มีข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  มันสำปะหลัง  มันเทศ  อ้อย  ยาสูบ  ยางพารา  เป็นต้น  การเพาะปลูกในเขตอากาศร้อนชื้น มีทั้งที่ทำในเนื้อที่ดินเล็กๆ  แบบยังชีพ (Subsistence  cultivation)   และที่ทำกันในไร่ขนาดใหญ่ (Plantation)  เป็นการกสิกรรมแบบการค้า (Commercial  agriculture)   มีการลงทุนมาก  อย่างเช่นการทำสวนยางในมาเลเซีย  การปลูกชาในอินเดียและศรีลังกา เป็นต้น   ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตอนกลางด้านตะวันออกของทวีป การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทำกันแบบไร่ขนาดใหญ่เพื่อการค้า
การเลี้ยงสัตว์    ในเขตอากาศร้อนชื้น  ภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป  การเลี้ยงสัตว์ส่วนมากเพื่อหวังประโยชน์ใช้แรงงานและบริโภค  มีวัว  ควาย  สุกร  เป็ด  ไก่  วิธีการเลี้ยงยังไม่สู้ก้าวหน้านัก  เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงสัตว์ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเหนือ   ส่วนในเขตอากาศแห้งแล้งทางภาคกลาง  ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป  การเลี้ยงสัตว์นับว่าเป็นอาชีพที่สำคัญมาก  ส่วนใหญ่เป็นพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน  พาฝูงสัตว์ย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ  ตามฤดูกาล  เพื่อหาหญ้าเลี้ยงสัตว์  สัตว์ที่เลี้งก็มี  อูฐ  แพะ  แกะ  และวัวขนยาวหรือ จามรี (Yak)  ซึ่งเลี้ยงมากในทิเบต

การล่าสัตว์    ทางภาคเหนือของทวีป  ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น  มีการล่าสัตว์ประเภทขนยาว เช่น หมีขาว  สุนัขจิ้งจอก  และสัตว์ที่ใช้ขนทำเครื่องนุ่งห่ม เช่น แมวน้ำ เป็นต้น
การป่าไม้   ในเขตอากาศร้อนชื้น  มีป่าไม้ประเภทป่าดงดิบ  และป่าผลัดใบซึ่งให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่มาก ไม่สำคัญเช่น ไม้สักไม้เต็งรัง  ไม้ตะแบก  ไม้ผ่  นอกจากนั้นก็มีผลิตผลิตที่ได้จากป่าไม้อื่นๆ ด้วย เช่น  ยางไม้  หวาย  สมุนไพร  ส่วนใหญ่ในเขตไซบีเรียที่มีอากาศหนาวเย็นจะเป็นพวกไม้สน  เขตไซบีเรียเป็นเขตป่าสนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
การประมง   บริเวณที่มีการจับปลาเป็นจำนวนมากของทวีปเอเซีย คือ น่านน้ำชายฝั่งตะวันออก  ตั้งแต่ช่องแคบเบริงไปจนถึงอ่าวไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอบๆ หมุ๋เกาะญี่ปุ่น  และชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก  ซึ่งเป็นเขตทะเลตื้น  และมีกระแสน้ำอุ่นบรรจบกระแสน้ำเย็น ทำให้เกิดแหล่งปลาชุกชุมที่เรียกว่า คลูลีนแบงค์     นอกจากการจับปลาแล้วบริเวณชายฝั่งด้าน ตะวันออก รวมทั้งหมู่เกาะญี่ปุ่นยังเป็นแหล่งจับหอยมุก ที่สำคัญของโลก และมีการเพาะเลี้ยงหอยมุกและผลิตไข่มุก มากที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก
การขุดแร่   ทวีปเอเชียมีทรัพยากรประเภทแร่ธาตุอยู่มากก็จริง  แต่ไม่ได้ขุดนำมาใช้ประโยชน์มากนัก  เพราะขาดการสำรวจ
และการลงทุน  แร่ที่ขุดได้เป็นจำนวนมากที่สุดของโลกคือ ดีบุก  บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    และน้ำมันในอินโดนีเซีย  และตะวันออกกลาง   แร่พวกพลอยและอัญมณีมีมากแถบ พม่า ไทย อินเดีย  ปัจจุบันประเทศไทยจัดเป็นศูนย์กลางของการผลิตภัณฑ์พลอยและอัญมณีที่มีชื่อเสียงของโลก
การอุตสาหกรรม   อุตสาหกรรมของทวีปเอเชียยังเจริญน้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นเพียงอุตสาหกรรมพื้นเมือง  ผลิตสินค้าประเภทฝีมือที่มีต้องมีการลงทุนมาก  เช่น  ผ้าฝ้าย  การทอพรม  การทำเครื่องโลหะ  แต่ทวีปเอเชียมีชื่อเสียงด้าน แรงงานและฝีมือ  จึงทำให้เอเชียกลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะสิ่งทอ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  อิเล็คทรอนิคส์  เครื่องยนต์ และคอมพิวเตอร์  โดยบริษัทใหญ่ๆ ทางยุโรปได้เข้ามาตั้งโรงงานในภูมิภาคนี้ เพื่อใช้ แรงงานและฝีมือของชาวเอเซีย ซึ่งมี ราคาถูกและคุณภาพดี   จนทำให้กลายเป็นศูนย์การผลิตสินค้าจำพวกเสื้อผ้าสำเร็จรูป  เครื่องหนัง  อัญมณี  เครื่องใช้ไฟฟ้า  อิเล็คทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วเอเซีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น