วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

โลกของเรา(ทวีปยุโรป)

ทวีปยุโรป
ลักษณะทั่วไป       
ทวีปยุโรปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปเอเซีย  ทวีปยุโรคเป็นพื้นแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเซีย  บริเวณทวีปยุโรปมีลักษณะเป็นคาบสมุทรทางด้านตะวันตกของทวีปเอเซีย  จึงมีบางคนเรียกดินแดนยุโรปว่า ยูเรเซีย” (Eurasia) ยุโรปตั้งอยูทางเหนือของเส้นละติจูดที่ 30  องศาเหนือ  ขึ้นไปจนถึงบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกที่ขั้วโลกเหนือ  จึงทำให้ภูมิอากาศของทวีปยุโรปส่วนใหญ่เป็นภูมิอากาศแบบอบอุ่น    ยุโรปเป็นดินแดนที่เก่าแก่ทีสุดแห่งหนึ่งของโลก  ยุโรปเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสำคัญๆ  ของโลกหลายอาณาจักร  เช่น  กรีก  โรมัน  ซึ่งเป็นแหล่งศิลปวิทยาการด้านต่างๆ ของโลก เป็นแหล่งรวบรวมความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน และนำไปสู่การ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมสมัยใหม่ และศิลปวิทยาการเหล่านึ้ได้กระจ่ายไปยังแหล่งต่างๆ ทั้วโลก
ที่ตั้งของทวีปยุโรปทำให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของโลก  สามารถติดต่อกับทวีปต่างๆ ได้อย่างสะดวก  โดยเฉพาะยุโรปเป็นผู้เชียวชาญด้านการเดินเรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ ใน ยุดไวกิ้ง มาจนถึงยุคของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดแผ่นดินต่างๆ เป็นเมืองขึ้นทั่วโลก
ขนาด
ทวีปยุดโรปมีเนื้อที่  9.8  ล้านตารางกิโลเมตร  นับว่าเป็นทวีปที่มีขนาดเกือบเล็กที่สุดของโลก (ทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ทวีปออสเตรเลีย)
ที่ตั้ง
ทวีปยุโรปตั้งอยู่เหนือเส้นละติจูดที่ 23 ½  องศาเหนือ  หรือ เส้นทรอปิออฟแคนเซอร์  (Tropi of Cancer)  ขึ้นไป โดยมีขอบเขตดังนี้
1. ทิศเหนือ   ติดกับมหาสมุทรอาร์ติก (ขั้วโลกเหนือ)  มีน่านน้ำสำคัญ คือ  ทะเลคารา (Kara Sea)  ทะเลแบเรนต์ส
(Barents Sea)  ทะเลขาว (White Sea)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของทวีปยุโรป คือ แหลมเหนือ (North Cape)  ในประเทศนอรเวย์  ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชมพระอาฑิตย์เที่ยงคืน
2. ทิศตะวันออก  ติดกับทวีปเอเซียโดยมีพรหมแดนธรรมชาติกั้น คือ เทือกเขาอูราล (Ural Mts.)  แม่น้ำอูราล (Ural)  และทะเลแคสเปียน (Caspian Sea)
3. ทิศใต้   มีบริเวณพรหมแดนธรรมชาติที่สำคัญคือ เทือกเขาคอเคซัล  (Caucasus Mts.)  ทะเลดำ (Black Sea)  ช่องแคบบอสฟอรัส (Str. Of Bosporus)   ทะเลมาร์มาลา (Marmara Sea)  ช่องแคบดาร์ดาเนล (Str. Of Dardanalles)   ทะเลเอเจียน (Aegean Sea)  ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Maditerranean Sea)   ช่องแคบจิบรอลตา (Str. Of Gibraltar)   บริเวณที่อยู่ใต้สุดของทวีปยุโรป (ไม่รวมหมู่เกาะ)  คือ แหลมทาริฟา (Cape of  Tarifa)  บนช่องแคบจิบรอลตา   เกาะที่อยู่ใต้สุดของทวีปคือ เกาะคีสต์ (Crete)
4. ทิศตะวันตก   อยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก  มีน่านน้ำสำคัญ คือ  อ่าวบิสเคย์  (Bay of Biscay)  ช่องแคบอังกฤษ  (English Channal)   ช่องแคบโดเวอร์ (Str. of   Dover)  ซึ่งเป็นบริเวณที่แคบที่สุดของช่องแคบอังกฤษ   ทะเลเหนือ (North Sea)   ช่องแคบสกาเจอร์รัก (Skagerrak)   ช่องแคบเคตเตกัต (Kettegat)   ทะเลนอร์วีเจียน (Norwegian Sea)   บริเวณตะวันตกสุดของทวีปยุโรปคือ แหลมโรคา (Cape Roca)  ในประเทศโปรตุเกส
ลักษณะภูมิประเทศ
จากลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา  ภูมิประเทศของทวีปยุโรป แบ่งออกได้ 4 เขตใหญ่ๆ  คือ
1.  เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันตกเฉียงเหนือ    เป็นบริเวณเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก  เป็นบริเวณที่เคยถูกน้ำแข็งปกคลุมมาก่อนในสมัยยุดน้ำแข็ง  (Great Ice Age)  ได้แก่บริเวณที่ราบสูงและเทือกเขาในคาบสมุทรสแกนดิเนียเวีย (Scandinavia peniasula)   พื้นที่บริเวณนี้ถูกกัดเซาะด้วย ธารน้ำแข็ง   ทำให้พื้นที่เป็นที่ราบสูงเตี้ยๆ  ที่ขรุขระเป็นแอ่งน้ำขัง  มีลักษณะ
เป็นทะเลสาบขนาดเล็ก กระจ่ายอยู่ทั่วไป  โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศฟินแลนด์มีทะเลสาบขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้รับสมญานามว่า ดินแดนแห่งทะเลสาบทั้งพัน   บริเวณชายฝั่งได้ถูกธารน้ำแข็งกัดกร่อนจนเว้าแหว่งมาก  ทำให้บริเวณชายฝั่งมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน  ที่เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord)  เกิดเป็นอ่าวลึก แต่ไม่เหมาะสำหรับเป็นท่าเทียบเรือ เนื่องจากเป็น บริเวณที่มีชายฝั่งสูงชัน ขึ้นลงยากลำบากเทือกเขาในบริเวณนี้เป็นเทือกเขาเตี้ยๆ  ที่ถูกกัดกร่อนด้วยธารน้ำแข็ง  เมื่อหมดยุคน้ำแข็ง ทำให้เกิดเป็นเทือกเขาเตี้ยๆ ที่สำคัญคือ เทือกเขาเซอร์เลน (Kjolen)  ในคาบสมุทรสแกนดิเนียเวีย   เทือกเขาแกรมเปียน (Grampians Mts.) ในสก๊อตแลนด์
2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง  เป็นที่ราบใหญ่ของทวีปยุโรป (Great Eurpoean Plain)  เริ่มตั้งแต่บริเวณชายฝั่งบนอ่าวบิสเคย์ของฝรั่งเศส  และบริเวณทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ  ผ่านเบลเยียม  เนเธอร์แลนด์  เดนมาร์ก  ภาคเหนือของเยอรมนี  โปแลนด์  และพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซีย  เป็นเขตที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นแหล่งเกษตรกรรม  ที่อยู่อาศัย  และอุตสาหกรรมของทวีปยุโรป  บริเวณนี้แบ่งออกเป้น 2 เขต คือ
๏ เขตที่ราบหินเก่า  พื้นที่ราบใหญ่ยุโรปเป็นบริเวณเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก  บริเวณที่เก่าแก่ที่สุดคือ ที่ราบชายฝั่งทะเลบอลติก  ได้แก่ทางตอนใต้ของสวีเดนและฟินแลนด์  ซึ่งเรียกว่า บอลติก ซิลด์  (Baltic Shield)  เป็นบริเวณที่มีแร่เหล็กคุณภาพดี  บริเวณเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่เท่ากับบอลติก ซิลด์ ในประเทศรัสเซีย คือบริเวณ ที่ราบรุสเซียน แพลทฟอร์ม  (Russian Platform)
๏ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีแม่น้ำไหลผ่านบริเวณนี้หลายสาย เช่น  แม่น้ำลัวร์ (Loire)   แม่น้ำเซน (Seine)   แม่น้ำไรน์ (Rhine) แม่น้ำเอลเบ (Elbe)   แม่น้ำโอเดอร์ (Oder)   แม่น้ำวิสตูลา (Vistula)   แม่น้ำดีวินา (Dvina)   แม่น้ำดานูบ (Danube)   แม่น้ำเหล่านี้เกิดจาก
เทือกเขาสูงทางตอนกลางของทวีปยุโรปไหลผ่านที่ราบใหญ่ลงทะเลเหนือ ทางตอนเหนือ   เป็นแม่น้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี  เพราะไม่มีเกาะแก่ง และน้ำไหลไม่เชียวนัก   ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีมีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำโป
3. เขตที่ราบสูงตอนกลาง    บริเวณที่ราบสูงตอนกลางเป็นบริเวณที่เคยถูกธารน้ำแข็งกัดกร่อนมาก่อน  จึงทำให้เทือกเขาในบริเวณนี้เป็นเทือกเขาเตี้ยๆ  ที่มีความสูงไม่มากนัก  และบางแห่งถูกกัดกร่อนกลายเป็นที่ราบสูง  เช่น  ที่ราบสูงเมเซตา (Meseta)  บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย     ที่ราบสูงมัสซิฟ ซองตรัส (Massif Central)  ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส    ที่ราบสูงแบลคฟอเรสต์ (Black Forest)  ทางตอนใต้ของเยอรมนี    และที่ราบสูงโบฮีเมียม (Bohemian)  เป็นพรหมแดนระหว่างประเทศเยอรมนีกับเซโกสโลวาเกีย
4. เขตภูเขาหินใหม่ทางตอนใต้    ในทางธรณีวิทยา เป็นเขตที่เปลือกโลกพึ่งถูกบีบอัดขึ้นมาเป็นภูเขาสูง  เป็นเทือกเขาที่เกิดพร้อมกับเทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเซีย  ที่สำคัญคือ
๏ เทือกเขาแอลป์  (The Alps)  อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี  เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในทวีปยุโรป  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ  มียอดสูงสุดเรียกว่า ยอดเขามองค์บลังก์  (Mont Blane)
๏ เทือกเขาปิเรนีส (Pyrenees Mts.)  เป็นพรหมแดนกั้นระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน  มีการขุดอุดโมงค์ มองบังค์ลอดผ่านเทือกเขาเพื่อใช้เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน
๏ เทือกเขาคาร์เปเทียน (Capathian Mts.)   เป็นเทือกเขาที่มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว  อยู่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขาแอลป์  บริเวณประเทศเซโกสโลวาเกีย และโปแลนด์
๏ เทือกเขาแอปเพนไนน์ (Apennine Mts.)   เป็นเทือกเขาในคาบสมุทรอิตาลี
๏ เทือกเขาคอเคซัส (Caucasus Mts.)   เป็นเทือกเขาที่เป็นพรหมแดนกั้นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเซีย  ระหว่างทะเลดำกับทะเลเคสเปียน  ทางตอนใต้ของประเทศรัสเซีย  เป็นเทือกเขาที่มียอดเขาสูงที่สุดในทวีปยุโรป คือ ยอดเขาเอลบรูส  (El ‘ brus)
๏ เทือกเขาไดนาริกแอลป์ (Dinaric Alps)  เป็นเทือกเขาที่ทอดยาวขนานกับชายฝั่งทะเลเอเจียน บนคาบสมุทรบอลข่านบริเวณ
ภาคใต้ของทวีปยุโรปมีแม่น้ำสายสำคัญที่เกิดจากเทือกเขาสูงในภาคใต้  เช่น  แม่น้ำเอโบร (Ebro)   แม่น้ำโรน(Rhone)   แม่น้ำโป (Po)   แม่น้ำโวลกา (Volga)  เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของทวีปยุโรป มีต้นน้ำอยู่ทีที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศรัสเซีย ไหลลงทะเลแคสเปียน   และแม่น้ำดานูบ (Danube)   ซึ่งเป็นแม่น้ำสายยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป มีต้นกำเนิดอยู่ที่บริเวณเทือกเขาแอลป์ ไหลลงทะเลดำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น