วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย
ลักษณะทั่วไป
ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุดทวีปหนึ่งของโลก  และเป็นทวีปที่ถูกค้นพบภายหลังทวีปอื่นๆ ทั้งหมด   และเป็นทวีปทีมีขนาดเล็กที่สุดของโลก  ออสเตรเลียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด
ขนาด
ทวีปออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทวีปเกาะ (Island Contiment)  เพราะมีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่  (ใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ ของทวีปอเมริกาเหนือ)  มีเนื้อที่  7.5 ล้านตารางกิโลเมตร  เป็นที่ตั้งของประเทศเพียงประเทศเดียว คือ
ประเทศออสเตรเลีย   ทวีปออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่า โอเซียเนีย  (Oceania)  หรือ   ออสตราเอเซีย  (Australasia)  ซึ่งหมายถึงทวีปออสเตรเลียกับหมู่เกาะต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้ของมหาสมุทร  แปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะประเทศนิวซีแลนด์ด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกใต้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  มีเนื้อที่ประมาณ  7.6  ล้านตารางกิโลเมตร  มีขอบเขตดังนี้
ทิศเหนือ    ติดต่อกับทะเลติมอร์  (Timor)  และทะเลอาราฟูรา (Arafura)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ แหลมยอร์ก (Cape Yore)  อยู่ที่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula)   มีช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait)  กั้นระหว่างเกาะนิวกินี กับทวีปออสเตรเลีย, อ่าวคาเฟนทาเรีย
ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลคอรัล (Coral)  และทะเลเทสมัน (Tasman)  บริเวณที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีปคือแหลมไบรอน (Cape Byron)
ทิศใต้   ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลียไบส์   ส่วนที่อยู่ใต้สุดของออสเตรเลีย คือ  แหลมวิลสัน (Wilson’s Promontory)    มีช่องแคบบาสส์ (Bass Strait)  กั้นระหว่างเกาะแทสเมเนียกับตัวทวีป
ทิศตะวันตก    ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ด้านะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมสตีป (Steep Point)
ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากกว่าทวีปอื่นๆ  ทั้งหมด  จากปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย มีระยะทางเพียง 4,300 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะภูมิประเทศ
ตามลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา  ภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลียอาจจะแบ่งออกได้  3  เขตใหญ่ๆ  ดังนี้
1. เขตเทือกสูงทางตะวันออก  (Eastern Highlands)   มีเทือกเขาสูงเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ของทวีป  ขนานกับชายฝั่ง
ตะวันออก  ตั้งแต่ตอนใต้ของคาบสมุทรเคปยอร์กจนถึงช่องแคบบาสส์  เป็นระยะทางยาวประมาณ 3,500 กิโลเมตร  เรียกว่า เทือกเขาเกรต ดิไวดิง (Great Dividing Range)  ตอนที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ เรียกว่า เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลีย (Austrailia Alps)  มียอดสูงสุดคือ ยอดเขาคอสซิอัสโก  (Kosciusko)  มีความสูง 2,198 เมตร  เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปออสเตรเลีย              บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย ติดกับทะเลคอรัล  มีแนวเกาะปะการังที่ขนาดใหญ่และสวยที่สุดของโลก คือ เกรต แบเรียรีฟ (Great Barrier Reef)  ยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนี่งของโลก
2. เขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก (The West Australian Shield)  มีเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของทวีป  ในทางธรณีวิทยาเป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก  ภายในที่ราบสูงนี้มีเทือกเขาเตี้ยๆ ตั้งอยู่ใกล้ขอบด้านตะวันตก  และด้านตะวันออก เช่น เทือกเขาดาร์ลิง (Darling Range) เทือกเขาแฮเมอร์สลีย์ (Hamersley)  ทางด้านตะวันตก     เทือกเขาแมกดอนเนลล์ (Mac Donnell Renge)   เทือกเขามัสเกรฟ (Musgrave Range) ทางตะวันออก     บริเวณนี้มีทะเลทรายสำคัญ คือ เกรตแซนดี (Grean Sandy Desert)  ทางตอนเหนือ   ทะเลทรายกิบสัน (Gibson Desert) ทางตะวันออก   ทะเลทรายวิมป์สัน (Simpson Desert)  ทะเลทรายเกรต วิกตอเรีย (Great Victoria Desert)  ทางตอนใต้
3. เขตที่ราบภาคกลาง  (The Central Plain)  ประกอบด้วยที่ราบขนาดใหญ่ 4 แห่ง  อยู่ระหว่างเขตเทือกเขาสูงทางตะวันออก กับ เขตที่ราบหินเก่าทางตะวันตก  ได้แก่
ที่ราบอ่าวคาร์เปนตาเรีย  (Gulf of Carpentaria Plain)   เป็นที่ราบอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของทวีป  มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงอ่าวคาร์เปนตาเรีย  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า
ที่ราบลุ่มทะเลสาบแอร์  (Lake Eyre Basin)   เป็นที่ราบลุ่มรอบๆ ทะเลสาบแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดของทวีปออสเตรเลีย
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์-ดาร์ลิง  (The Murray and Darling Basin)  เป็นที่ราบใหญ่และสำคัญที่สุดของทวีปออสเตรเลีย  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์ และ แม่น้ำดาร์ลิง  ซึ่งไหลลงทะเลที่อ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์  ทางตอนใต้  แม่น้ำดาร์ลิงเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของทวีปออสเตรเลีย
ที่ราบรอบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์ (Great Australian Bight Plain)  อยู่ทางตอนใต้ของทวีปออสเตรเลีย  ส่วนใหญ่เป็นเขตแห้งแล้งกันดาร  เรียกชื่อว่า ที่ราบนันลาบอร์” (Nullabor Plain)  เป็นพื้นทีที่เริ่มเป็นทะเลทราย  จึงทำให้พื้นทีในบริเวณนี้ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น