วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า กาฬทวีป  เป็นทวีปที่ยังมึความล้าหลังทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม   (ยกเว้นประเทสแอฟริกาใต้ ซึ่งปกครองโดยชนชาติผิวขาว)   แม้ว่าทวีปแอฟริกาจะมีขนาดทวีปที่ใหญ่โตมาก  แต่
สภาพทางภูมิศาสตร์หลายประการไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศได้  โดยเฉพาะด้านคุณภาพของประชากร  ซึ่งมีคุณภาพ
ค่อนข้างต่ำ
ขนาด
ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากทวีปเอเซีย  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 30 ล้านตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรป  และทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย  มีเส้นศูนย์สูตรผ่านเกือบกึ่งกลางของทวีป  ทำให้ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้  โดยมีขอบเขตของทวีปดังนี้
ทิศเหนือ  ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  มีแหลมบลังก์ (Cape Blanc)  เป็นดินแดนเหนือสุดของทวีป ที่ยื่นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบจิบรอลตา  (Strait of Gibralta)  และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง (Red  Sea)    คลองสุเอซ    และคาบสมุทรซีนาย (Sina  Peninsula)  หรือบางครั้งเรียกว่า สามเหลี่ยมซีนาย (Sina  Trilateral)
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับทะเลแดง  และมหาสมุทรอินเดีย  มีแหลมแฮฟูน (Cape Hafun)  ในประเทศโซมาเลีย
เป็นส่วนที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีป  ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับอ่าวเอเดน (Gulf of Aden)  และทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นเกาะมาดากัสการ์  (Madagascar)  และช่องแคบโมเซมบิค (Mozambique)
ทิศใต้   ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ใต้สุดคือ แหลมอะกัลลัส (Cape Agulhas)  ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมกู๊ดโฮป (Cape of  Good Hope)
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับมหาสุทรแอตแลนติก   มีอ่าวใหญ่อยู่ตอนกลางคือ อ่าวกีนี (Gulf  of  Guinea)  ส่วนที่อยู่
ตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมเวอร์ด (Cape Vert)  ในประเทศเซเนกัล
ลักษณะภูมิประเทศ
ประมาณ  2  ใน  3  ของเนื้อที่ทวีปทั้งหมด เป็นที่ราบสูง  พื้นทีที่เป็นที่ราบลุ่มมีอยู่น้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ
แคบๆ  ตามบริเวณชายฝั่ง  ตามลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาพอจะแบ่งภูมิประเทศของทวีปแอฟริกาออกได้  5  เขตใหญ่  คือ
1.  เขตภูเขาภาคเหนือ   ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป  ในพื้นที่ประเทศโมร๊อกโก   แอลจีเรีย  และตูนีเซีย  มี
ลักษณะเป็นเทือกเขาสูง ซึ่งเป็นเทือกเขาเกิดใหม่  เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส  มียอกเขาสูงที่สุดคือ ทูบคาล (Mt. Tubkal)
2.  เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ  4  สาย คือ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์   อยู่ทางตอนเหนือของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศซูดาน  และประเทศสาธารณรัฐอาหรับ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์   อยู่ทางตะวันตกของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศมาลี  ประเทศสาธารณรัฐอาหรับ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก   อยู่ทางตอนกลางของปทวี  ในเขตศูนย์สูตร อยู่ในประเทศคองโก
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเบซี   อยู่ทางตอนใต้ของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศแซมเบีย   ประเทศโรดีเซียใต้  และประเทศโมซัมบิก
3.  เขตเทือกเขาและที่ราบสูงทางตะวันออก   ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา  เป็นบริเวณที่มีความสูงมากที่สุด
ลักษณะพื้นที่ทั่วๆ ไปเป็นที่ราบสูงและมีภูเขาสูงๆ  ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  มียอดเขาสูง  เช่น เทือกเขาคิลิมาจาโร(Mts. Kilimanjaro)   ในประเทศแทนแกนยิกา  เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในทวีป มียอดสูงสุดชื่อว่า ยอดเขาคีนยา (Kenya)   ซึ่งมีหิมะปกคลุมตลอดปี เนื่องจากมีระดับความสูงอยู่ในแนวหิมะ (Snow line)     ในเขตที่ราบสูงทางตะวันออกนี้มีทะเลสาบขนาดใหญ่มากมาย ที่สำคัญเช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย  ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของโลก  รองจากทะเลสาบสุพีเรียในทวีปอเมริกาเหนือ   ทะเลสาบแทนแกนยิกา    ทะเลสาบแอลเบิร์ต  ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (rift  velley)
4.  เขตที่ราบสูงและเทือกเขาสูงทางตอนใต้   เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต  เรียกว่า แรนด์ (The Rand)   หรือ
วิกวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand)   เป็นแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญของโลก  มีเทือกเขาสูงขนานไปกับฝั่งมหาสมุทรอินเดีย คือ เทือกเขาดราเคนเบิร์ค (Drakensberg Mts.)   มียอดเขามองค์ซูกส์ (Mont aux Sources)  เป็นยอดสูงสุด    ทางด้านตะวันตกเป็นเขตน้ำแห้ง  มีทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี  (Kalahari Desert)  และทะเลทรายนานิบ (Namib Desert)  ระหว่างที่สูงที่หน้าผาเล็กๆ แยกจาก กัน  ซึ่งแต่ละส่วนเรียกว่า คาร์รู (Karroo)
5.  เขตที่ราบสูงและทะเลทรายทางตะวันตก    ได้แก่ที่ราบสูงกว้างใหญ่ ตั้งแต่บริเวรทะเลทรายคาราฮารี จนถึงอ่าวกินี  เป็นที่ราบสูงหินเก่า  ปกลุ่มด้วยหินและดินตะกอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น