วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ภูมิอากาศของโลก2

ภูมิอากาศ และ พืชพันธุ์ธรรมชาติ

                                                สิ่งที่กำหนดความแตกต่างของภูมิอากาศได้ดีที่สุด คือ  พืชพันธุ์ธรรมชาติ   เพราะพืชพันธุ์เหล่านี้เป็นพืชพันธุ์ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  และจะเจริญเติบโตได้เฉพาะในพื้นทีที่มีภูมิอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิดเท่านั้น  ดังนั้นบริเวณใดที่มีพืชพันธุ์ธรรมชาติเหมือนกันย่อมแสดงว่าเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิและภูมิอากาศเหมือนกัน   เราจึงสามารถนำพืชพันธุ์ธรรมชาติมาเป็นตัวแบ่งเขตภูมิอากาศตาม ลักษณะของพืชพันธุ์ธรรมชาติได้ ดังนี้

1.               ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบบศูนย์สูตร  (Tropical Rainy Climate  :  Af )  เป็นลักษณะภูมิอากาศที่

ร้อนจัด  อุณหภูมิสูง  มีฝนตกชุกตลอดปี   ได้แก่บริเวณแถบศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5 องศาละติจูดเหนือและ 5 องศาละติจูดใต้   พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็น ป่าดงดิบ  ที่เด่นชัดได้แก่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้   ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ในทวีปแอฟริกา  บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย  เราเรียกลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ว่า ภูมิอากาศแบบป่าดงดิบ    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอนจัดเป็นบริเวณป่าดงดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลก

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติของเขตนี้เป็นป่าดงดิบเป็นป่าดงดิบ  ต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น  เขียวชอุ่มตลอดปี ไม่มีการผลัดใบ  มีต้นไม้มากมายหลายชนิด  เป็นไม้ที่มีใบกว้าง  ลำต้นสูงใหญ่  ขึ้นชิดติดกันจนกิ่งใบเบียดกันแน่น ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องลอดลงไปถึงพื้นดินด้านล่างได้  มีฝนตกชุกตลอดปี  ทำให้พันธุ์ไม้ประเภท เถาวัลย์ ขึ้นเกาะเกี่ยวตามลำต้น  พันธุ์ไม้ส่วน ใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ที่เครื่องใช้ และบ้านเรือน

                                                นอกจากมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดแล้ว บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิด  ทั้งที่เรารู้จักกันดี และมีอีกหลายชนิดที่เรายังไม่รู้จัก ที่สำคัญเช่น เสือโคร่ง  วัวกระทิง  วัวแดง  หมีควาย  แรด  กระซู่  ลิงอุลังอุตัง   กอซิล่า   และสัตว์เลื้อยคลานนานาชนิด   บริเวณป่าดงดิบเหล่านี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของ แมลงและยุงที่เป็นพาหะของโรค เช่น มาลาเรีย  ไข้เลือดออก  ไข้นอนหลับ   ต้นไม้ที่มีค่าในเขตนี้ส่วนใหญ่จะไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง  เช่น ไม้แดง  ไม้มะค่า  ไม้ตะแบก

                                                2. ภูมิอากาศแบบป่ามรสุมเมืองร้อน  (Light Tropical Rainy Forest  :  Am )   เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมากในฤดูฝน ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  บริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดของโลกคือ เมืองซิราปุจิ  ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย   และมีฤดูแล้งเด่นชัดเป็นเวลา 1 – 2 เดือน  ได้แก่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเฉพาะด้านที่รับลม (Wind ward) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้  บริเวณชายฝั่งกินีตะวันตกในทวีปแอฟริกา

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติบริเวณนี้ ป่าโปร่ง เขตร้อนชื้น  หรือเรียกว่า ป่าเบญจพรรณ  เป็นป่าโปร่งผลัดใบที่ขึ้นในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม  มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าป่า ดงดิบ  มีระยะฤดูแล้งระยะสั้นๆ  เห็นได้ชัดเจน  บริเวณที่มีพืชพันธุ์แบบนี้ชัดเจน คือ  บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ต้นไม้สำคัญในป่าชนิดนี้คือ ไม้สัก ซึ่งจัดเป็นไม้ที่มีค่ามากที่สุด เพราะมีคุณภาพสูงเหมาะสำหรับการนำมาทำสร้างบ้านเรือน และเครื่องใช้สอยต่างๆ   พืชพันธุ์ที่ขึ้นแซมในเขตมรสุมนี้ ได้แก่  ต้นไผ่     บริเวณที่แห้งแล้งมีปริมาณน้ำฝนน้อย ปริมาณป่าไม้จะลดลงและมีทุ่งหญ้าขึ้นแซมมากขึ้น ทำให้บ้างแห่งมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่   ไม้เศรษฐกิจสำคัญในเขตนี้ เช่น ไม้สัก  ไม้ยางพารา  ไม้มะฮกกกานี  ปาร์มน้ำมัน  ชิงโคนา  และเครื่องเทศ

                                                3.  ภูมิอากาศแบบสาวานา  (Savanna  :  Aw )   มีลักษณะคล้ายกับภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน  แต่เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้น้อย  ทำให้มีฝนตกน้อยกว่า  เป็นทุ่งหญ้าที่มีไม้พุ่มสลับกับป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ห่างๆ  ได้แก่บริเวณที่มีภูมิประเทศเป็น เงาฝน (Rain Shadow)  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บริเวณทุ่งหญ้าลาโนส  ลุ่มน้ำโอริโนโคของเวเนซุเอลา  โคลัมเบีย  และที่สูงกิอานา ในทวีปอเมริกาใต้ทางตอนเหนือ   ทุ่งหญ้าแคมโปส ในบราซิล   ทางตอนเหนือ ทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย  บริเวณประเทศซูดาน และขอบนอกของเขตป่าฝนเมืองร้อน (ลุ่มแม่น้ำคองโก)  ในทวีปแอฟริกา

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสูงๆ  เช่น  หญ้าคา  ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์  ในฤดูฝนจะดูเขียวชอุ่มสดชื่น และแห้งแล้งเป็นสีน้ำตาลในฤดูแล้ง  ติดไฟง่าย    สัตว์ป่าที่สำคัญในเขตนี้เช่น  สิงโต  เสือดำ  เสือดาว  และสัตว์ประเภทกวางชนิดต่างๆ

                                                4.  ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสแตปป์  (Stepps Climate  :  Bsh, Bsk )   ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบกึ่งทะเลทราย  เป็นบริเวณที่อยู่รอบๆ ทะเลทราย  และบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งที่มีภูเขาสูงล้อมรอบ (Basin)  เช่น ทะเลทรายตาริม ในอินเดีย   ปริมาณน้ำฝนในเขตทุ่งหญ้าสแตปป์มีปริมาณน้อยมาก  บางแห่งไม่มีฝนตกเลย  ทำให้บริเวณนี้จะทำการเพาะปลูกได้ต้องอาศัยระบบชลประทานเข้าช่วยจึงจะสามารถเพาะปลูกได้

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติในบริเวณนี้เป็น หญ้าตนสั้นๆ  รากตื้น   โดยมากอยู่ในบริเวณกึ่งแห้งแล้ง  ในบริเวณที่แห้งแล้งมากตนหญ้าก็จะสั้นมาก  ในช่วงฤดูฝนในพื้นทีที่มีฝนตกพอเพียงก็จะทำให้ต้นหญ้าเหล่านี้เจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว จนทำให้กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจีขนาดใหญ่ แต่เมื่อหมดฝน ทุ่งหญ้าเหล่านี้ก็เฉาตายกลายเป็นทุ่งหญ้าต้นสั้นๆ เหมือนเดิม

                                                5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  (Mediterenean Climate  :  Cs )    เป็นลักษณะภูมิอากาศที่จัดว่า  ดีที่สุดในโลก   ภูมิอากาศส่วนใหญ่ อบอุ่นตลอดปี  ฤดูหนาวมีฝนตกเล็กน้อย  อากาศอบอุ่นสบายดี ฤดูร้อนท้องฟ้าโปร่ง อากาศอบอุ่น  ได้แก่บริเวณรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ซึ่งกั้นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา   บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทรกีส-ยูเฟรตีส  (ที่ราบเมโสโปเตเมีย)   แคลิฟอร์เนียตอนกลางและตอนใต้  ทางชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา   ซิลีตอนกลาง   ตอนใต้สุดด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา  บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย   เป็นบริเวณที่มีผู้คนนิยมไปผักผ่อนตากอากาศมากที่สุด  โดยเฉพาะเมืองมาร์เซลล์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

                                                พืชพันธุ์ธรรมชาติของบริเวณนี้เป็น ป่าไม้แบบผสมที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ  ต้นไม้สูงจะขึ้นห่างๆ กัน ไม่เบียดชิดหนาแน่นเหมือนเขตร้อนชื้น  ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่มีเปลือกหนาห่อหุ้มลำต้น ที่สำคัญได้แก่ ต้นคอร์ด  ต้นโอ๊ค   เปลือกของต้นคอร์คถูกนำไปใช้เป็น จุกคอร์คสำหรับปิดขวด   พืชสำคัญในเขตเมดิเตอร์เรเนียนได้แก่ ส้ม  อะงุ่น   เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น